การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มอาชีพสตรีการทำสมุนไพรใช้ในครัวเรือน บ้านทุ่งกลับใหญ่ ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • สุมาลิน ขุนทอง
  • วงศ์สถิตย์ วิสุภี

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างความเข้มแข็ง, กลุ่มอาชีพสตรี, สมุนไพรใช้ในครัวเรือน

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มอาชีพสตรีการทำสมุนไพรใช้ในครัวเรือนบ้านทุ่งกลับใหญ่ ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี” การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันและปัญหาของกลุ่มอาชีพสตรีการทำสมุนไพรใช้ในครัวเรือนบ้านทุ่งกลับใหญ่ 2) วิธีการเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนากลุ่มอาชีพสตรีการทำสมุนไพรใช้ในครัวเรือนบ้านทุ่งกลับใหญ่ 3) ผลการพัฒนาการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มอาชีพสตรีการทำสมุนไพรใช้ในครัวเรือนบ้านทุ่งกลับใหญ่ ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการทำการวิจัยระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ.2561-เมษายน พ.ศ. 2563 ประชากรกลุ่มตัวอย่าง 15 ราย โดยมุ่งเน้นการสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม การศึกษาดูงานและการอบรมเชิงปฏิบัติการและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า

  1. ปัญหาของกลุ่ม มีดังนี้ พื้นฐานของกลุ่มที่มีอาชีพเหมือนกัน การบริหารจัดการกลุ่มยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร กฎ กติกา ทางกลุ่มยังไม่มีการดำเนินการที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน กองทุนทางกลุ่มไม่มีการลงหุ้น กิจกรรม สมาชิกยังขาดองค์ความรู้ด้านการแปรรูปสมุนไพร
  2. วิธีการเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนา มีดังนี้ ควรมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีเป้าหมายเดียวกัน ควรมีการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกรรมการด้วยการพัฒนาศักยภาพ กฎ กติกา ควรเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ที่ชัดเจน กองทุน ควรมีการลงหุ้น กิจกรรมควรส่งเสริมกิจกรรมหลากหลาย
  3. ผลการพัฒนาการเสริมสร้างความเข้มแข็ง  ด้านการบริหารงาน พบว่ากองทุน สมาชิกมีส่วนร่วมในกิจกรรมกว่าร้อยละ 70 ด้านการบริหารคน พบว่ากรรมการได้มาจากการเลือกตั้งของสมาชิก ด้านการบริหารผลประโยชน์ พบว่าเน้นทำกินทำใช้ในครัวเรือน ผลประโยชน์ต่อชุมชน มีการสงเคราะห์ต่อผู้ยากไร้

References

จีรพรรณ กาญจนจิตรา. (2530). การพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.
ธนชัย กาลวิโรจน์. (2561). การส่งเสริมการปลูกและการใช้สมุนไพรพื้นบ้านเพื่อรักษาโรคพื้นฐานในชุมชนบ้านนาไร่เดียว ตำบลวังแขม อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปะ
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ บัณฑิตศึกษา สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน.
ธนวรรณ ชินชัยวุธ. (2562). ปัจจัยการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเสื่อกกสู่วิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา
บ้านหัวฝาย ตำบลเอราวัณ อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ บัณฑิตศึกษา สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน.
นนทชาติ ปราชญ์รักษา. (2553). ผักสมุนไพร. กรุงเทพฯ: ยูโรปา เพรส บจก.
ภาควัต ศรีสุรพล และ ศิวัช ศรีโภคางกุล. (2555). แนวทางการส่งเสริมกลุ่มอาชีพให้มีความเข้มแข็งในตำบลนาชุมแสง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. รายงานวิจัยวิทยาลัยการปกครอง มหาวิทยาลัยขอนแก่น,บทความวิจัยเผยแพร่ในวารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-มิถุนายน พ.ศ.2560.
ลักษมี เสือแป้น. (2555). ความสำเร็จของการพัฒนากลุ่มอาชีพและความเชื่อมโยงกับการส่งเสริมชุมชน กรณีศึกษา: กลุ่มอาชีพสตรีแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าบ้านเขาสะพานแร้ง ตำบลสนามแย้ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2551). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
ศิริพร ครอบครองวงศ์. (8 มิถุนายน 2562). สัมภาษณ์. กรรมการกลุ่มแม่บ้านทุ่งกลับใหญ่. ตำบลพักทันอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน. (2560). แนวทางการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพ. กรุงเทพมหานคร: สไตล์ครีเอทีฟเฮ้าส
อนุษร อินทโชติ. (10 พฤศจิกายน 2561). สัมภาษณ์. ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 6 บ้านทุ่งกลับใหญ่ ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี.
อมรรัตน์ สอาดเล็ก. (25 มิถุนายน 2562). สัมภาษณ์. กรรมการกลุ่มแม่บ้านทุ่งกลับใหญ่.ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-13