การปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • พระครูธรรมคุต
  • พระครูโสภณธรรมโชติ
  • สลารีวรรณ ทัพทวี

คำสำคัญ:

การปกครอง, ส่วนท้องถิ่นไทย, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การศึกษาด้านการปกครองส่วนท้องถิ่นไทย หลังจากการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองของไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่ามีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องในด้านจัดการตามหลักของการกระจายอำนาจ ของรูปแบบปกครองการตามระบอบประชาธิปไตย การปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในศตวรรษที่ 21 นั้น กลุ่มผู้ศึกษาเห็นว่า การปกครองส่วนท้องถิ่นได้นำหลักการมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการ ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement: e-GP) การจัดซื้อจัดจ้างที่คำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการใช้งานเป็นสำคัญซึ่งจะก่อให้เกิดความคุ้มค่า ในการใช้จ่ายเงิน มีการวางแผนกาดำเนินงานและมีการประเมินผลการปฏิบัติงานซึ่งจะทำให้การจัดซื้อจัดจ้าง มีประสิทธิภาพประสิทธิผล รวมทั้งเพื่อให้เป็นไปตามหลักหลักธรรมภิบาล มีการส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริต และประพฤติมิชอบในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การพัฒนาในทุกระดับต้องมีการเพิ่มทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ทักษะด้านชีวิตและอาชีพซึ่งมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ การปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุค เพื่อการให้บริการสาธารณะที่ดีกับประชาชน ร่วมไปถึงความเป็นอยู่ของประชาชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชน แต่ละท้องที่มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ

References

กระทรวงมหาดไทย. (2541). เอกสารเผยแพร่ความรู้ทางการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร
: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการกระจายอำนาจ.
แหล่งที่มา : http://www.lrct.go.th/th/ (11 กรกฎาคม 2564). สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564
กัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ์, (2563). การเมืองการปกครองไทย, พิมพ์ครั้งที่ 1, (กรุงเทพมหานคร : J. Print 94, หน้า 139-144.
โกวิทย์ พวงงาม, (2555). การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต (พิมพ์ครั้งที่ 8), หน้า 3.
ประทาน คงฤทธิศึกษาการ, (2526). การปกครองท้องถิ่น, (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโต), หน้า 3.
ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์, (2561). ทิศทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอนาคต. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2561), 183-196.
ปวีย์สุดา แสงเกียรติพงศ์, (2560). การบริหารงานพัสดุอย่างมีประสิทธิภาพของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่. แหล่งที่มา https://ddc.moph.go.th/ odpc1/orgchart.php สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 264
พงศ์โพยม วาศภูติ ออนไลน์, (2564). เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ . แหล่งที่มา https://www.thaipost.net/main/detail/94108 สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564
รสคนธ์ รัตนเสริมพงศ์. (2547). เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารท้องถิ่น: แนวคิดและหลักการบริหาร
ท้องถิ่น. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วุฒิสาร ตันไชย, (2543). การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่น, (กรุงเทพฯ : คลังวิชา), หน้า 103.
วิเชียร ตันศิริคงคล, (2563). โครงสร้างส่วนล่างของการเมืองการปกครองไทย, ในเอกสารการสอนชุดวิชา
หลักพื้นฐานการเมืองการปกครองไทย, (นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช), หน้า 8–9.
วิจารณ์ พานิช, (2562) ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. แหล่งที่มา : https://bookscape.co/books/education-and-learning-societies/21st-century-skills สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2564.
สุรชัย เจนประโคน, (2554). การปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในปัจจุบัน. แหล่งที่มา http://surachaichen
prakhon.blogspot.com/2011/04/blog-post_4546.html. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2564
อำนวย บุญรัตนไมตรี นิพนธ์ ไตรสรณะกุล, (2558). การบริหารงานบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีการ บริหารเทศบาลตามมาตรฐานการจัดทำบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐาน. วารสารมนุษย์สังคมปริทัศน์. (17) 2 หน้า 93 – 108.
อรพินท์ เปรมโพธิ์, (2558). ระดับการยอมรับการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของเจ้าหน้าที่พัสดุ. รายงานวิจัย บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-18