ผลกระทบจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่าม้ง ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • คนธรรพ์ พรถวิล
  • เสนอชัย เถาว์ชาลี

คำสำคัญ:

แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่าม้ง, ผลกระทบ, และแนวทางการพัฒนา

บทคัดย่อ

          บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “ผลกระทบจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่าม้ง ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีชนเผ่าม้ง และสถานที่ท่องเที่ยวตำบลรวมไทยพัฒนา เพื่อศึกษาปัญหาและผลกระทบจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่าม้งตำบลรวมไทยพัฒนา เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่าม้ง ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้นำชุมชน และผู้อาวุโสชนเผ่าม้ง จำนวน 14 คน ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลรวมไทยพัฒนา กำนันตำบลรวมไทยพัฒนา ผู้ใหญ่บ้านที่มีชนเผ่าม้งอาศัยอยู่ และผู้อาวุโสประจำชนเผ่าม้ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์ และการสังเกต ผลการวิจัยพบว่า

  1. จากวิถีชีวิต ความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณีของชนเผ่าม้ง หลอมรวมกันเป็นเทศกาลงานฉลองประจำปีของชนเผ่า และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อการท่องเที่ยว บนพื้นฐานความร่วมมือกันของกลุ่มประชาชนชนเผ่าม้ง 
  2. ปัญหาและผลกระทบจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่าม้ง ตำบลรวมไทยพัฒนา ประกอบด้วย ผลกระทบด้านสังคมและวิถีชีวิตชนเผ่าม้ง ได้แก่ โครงสร้างทางครอบครัวเปลี่ยนแปลงไปเกิดการเอารัดเอาเปรียบทางสังคมชนเผ่า เกิดปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม และปัญหาโสเภณี ผลกระทบด้านวัฒนธรรม
  3. แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่าม้ง เป็นการวางแผนพัฒนาร่วมกันระหว่าง ชุมชน ผู้นำชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลและหน่วยงานของภาครัฐ โดยการพัฒนาด้านชุมชน ด้านวัฒนธรรมประเพณี ด้านเศรษฐกิจชุมชน และด้านสิ่งแวดล้อม ให้เชื่อมโยงสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนเผ่าม้ง เพื่อให้แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ชุมชนเผ่าม้ง

References

ชัยสิทธิ์ ดำรงวงศ์เจริญ. (2550). การจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงอนุรักษ์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน; กรณีศึกษาภูผายนต์ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร.
พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism Handbook). กรุงเทพมหานคร: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.
วาทินี คุ้มแสง. (2553). ประเพณีของชาวม้ง:กรณีศึกษาชุมชนในโครงการหลวงหนองหอย. จังหวัด เชียงใหม่, สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง.มปท.
สุชาดา วงชัยภูมิ.(2551). เรื่องการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัด นครราชสีมา.
สรสิริ รวีโรจน์วรกุล.(2550). การศึกษาเรื่องแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ จังหวัด ปทุมธานี
องค์การบริหารส่วนตำบลรวมไทยพัฒนา. (2562). ประวัติความเป็นมาตำบลรวมไทยพัฒนา. ตำบลรวมไทย พัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-15