รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนภายใต้บริบทแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา: บ้านธาตุอิงฮัง นครไกรสอนพรมวิหาร แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • สาลี สุวันนะวงสา คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน, บริบทแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม, บ้านธาตุอิงฮัง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบ้านธาตุอิงฮัง 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบ้านธาตุอิงฮัง และ 3) กำหนดรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนภายใต้บริบทแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบ้านธาตุอิงฮัง นครไกรสอนพรมวิหาร
แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องที่มีความรับผิดชอบในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว
บ้านธาตุอิงฮัง จำนวน 3 กลุ่ม รวม 9 คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า

บริบทพื้นที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ด้านกระบวนการศึกษาสิ่งแวดล้อม ด้านธุรกิจท่องเที่ยว ด้านการตลาดการท่องเที่ยว ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น และด้านการสร้างจิตสำนึกแก่ผู้เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว สำหรับการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล

สำหรับรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนภายใต้บริบทแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบ้านธาตุอิงฮัง คือ เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงคนในชุมชนควรเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังในทุกด้านหรือทุกขั้นตอน กล่าวคือ ควรมีสิทธิเข้าร่วมในที่ประชุม เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ในที่ประชุม มีส่วนร่วมในการวางแผนการประสานงาน การบริการ การประกอบส่วนด้านแรงงานหรือทรัพย์สินเงินทอง และอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวของชุมชนร่วมกัน ควรได้รับผลประโยชน์ที่เป็นธรรม และทั่วถึงทั้งทางตรง และทางอ้อม รวมทั้งควรมีสิทธิในการติดตามประเมินผลกระทบทั้งด้านบวก และด้านลบที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวร่วมกัน

References

บรรณานุกรม

กระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว. (2559). วิสัยทัศณ์ 2030, ยุทธศาสตร์ถึงปี 2025 และแผนพัฒนาทางด้านแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยวของ สปป ลาว ปี 2016-2020.

กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และ ศรันยา แสงลิ้มสุวรรณ. (2555). การท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน. วารสารนักบริหาร, 32(4), 139-146.

กฤติยา สมศิลา และ กนกกานต์ แก้วนุช. (2561). ปัจจัยการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(1), 103-123.

จิตประสงค์ สุลิเดช. (2560). การมีส่วนร่วมของครัวเรือนในการจัดการท่องเที่ยว โดยชุมชน บ้านนาด้วง เมืองวังเวียง แขวงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

จันทร์จิรา สุขบรรจง. (2559). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของหนานมดแดง อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เจ้าอธิการรุ่งโรจน์ อธิปุญโญ และ พระครูกัลยาณกิตติวัฒน์. (2562). การพัฒนาเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 1(2), 125-140.

ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). ความหมาย และความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. แหล่งที่มา:https://tourismatbuu.wordpress.com สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2564.

ณัฐวุฒิ ปัญญา. (2563). การสร้างสรรค์การตลาดดิจิทัลเชิงกลยุทธ์: หลักฐานเชิงประจักษ์จากธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทย, วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 10(1), 20-44.

ปัญญา เฉลียวชาติ. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร

มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์. แหล่งที่มา: http://ns.nsru.ac.th/bitstream/nsru/183/1/

Punya_chalieochart.pdf สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2564.

แผนกแถลงข่าววัฒนธรรมและท่องเที่ยว แขวงสะหวันนะเขต. (2558). บทรายงานประจำปี และแผนการท่องเที่ยวของแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

แผนกแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว แขวงสะหวันนะเขต. (2562). แผนพัฒนา และส่งเสริมการท่องเที่ยว แขวงสะหวันนะเขตปี 2019-2025.

พรหมภัสสร ชุณหบุญญทิพย์. (2560). การท่องเที่ยวชุมชนกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพื้นที่ชุ่มน้ำหนองไชยวาน บ้านดอนแดง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. วารสารวิชาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(2), 47-62.

วิชาญ ฤทธิธรรม, พุฑฒจักร สิทธิ และ โพชฌ์ จันทร์โพธิ์. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการ

บริหารงานของเทศบาลนครสกลนคร, วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(5), 27-41.

วิษณุ หยกจินดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. แหล่งที่มา:http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/

files/55930171.pdf สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29