การส่งเสริมการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางของทีมสหสาขาวิชาชีพชาวพุทธ โรงพยาบาลสระบุรี อำเภอเมืองจังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์มงคล เชื้อทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
  • พระสุธีรัตนบัณฑิต
  • วสันต์ ลิ่มรัตนภัทรกุล

คำสำคัญ:

การฟื้นฟู, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง, ทีมสหสาขาวิชาชีพชาวพุทธ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องการส่งเสริมการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางของทีมสหสาขาวิชาชีพตามแนวพุทธ โรงพยาบาลสระบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของทีมสหสาขาวิชาชีพเกี่ยวกับการส่งเสริมการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง 2) เพื่อศึกษากระบวนการส่งเสริมการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางของทีมสหสาขาวิชาชีพตามแนวพุทธ และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการดำเนินงานการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางของทีมสหสาขาวิชาชีพตามแนวพุทธ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและสนทนากลุ่ม มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 22 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสามเส้าละวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า

1) สภาพปัญหาและความต้องการสอดคล้องกับหลักการบริหาร 4 M โดยลำดับที่สำคัญที่สุดกล่าวคือด้านบุคลากรของทีมสหสาขาวิชาชีพไม่เพียงพอ จึงมีความต้องการพัฒนาจิตอาสาหรืออาสาสมัครเพื่อดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง

2) กระบวนการส่งเสริมการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางของทีมสหสาขาวิชาชีพตามแนวพุทธ โรงพยาบาลสระบุรี มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) กระบวนการคัดกรอง 2) กระบวนการส่งต่อทีมสหสาขาวิชาชีพ 3) กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย และ มีระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีทีมสหสาขาวิชาชีพครอบคลุมตามมาตรฐานทุกประการ   

3) แนวทางการดำเนินงานการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางของทีมสหสาขาวิชาชีพเชิงพุทธโรงพยาบาลสระบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี พบว่า 1) ควรมีระบบบริหารที่ดีตามหลัก 4M คือ Man Money Material and Managements และการจัดการในการส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง 2) ควรมีการประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพและ 3) การบริหารจัดการตามแนวพุทธ ได้แก่การประยุกต์หลักไตรสิกขาและหลักภาวนา

Author Biographies

พระสุธีรัตนบัณฑิต

อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วสันต์ ลิ่มรัตนภัทรกุล

   อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

References

กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกลางสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ. สมุทรสาคร:บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง, 2562
กัลปังหา โชสิวสุกลและคณะ. “กรณีศึกษา:ผลลัพธ์การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองแบบมี ส่วนร่วม”, วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์, ปีที่ 3 ฉบับที่ 2. (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559):58-64.
ณัฐนันท์ อุสายพันธ์และคณะ, “การพัฒนาระบบบริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จังหวัดสุราษฎ์ธานี”, วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, ปีที่ 30 ฉบับที่ 1 (2559)85-93.
ธัญลักษณ์ ขวัญสนิท, “ผลการพัฒนาระบบฟื้นฟูระยะกึ่งเฉียบพลัน (Sub-acute rehabilitation) ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี”, วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, ปีที่ 31 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2560):723-732.
นัยนา หมันเทศและคณะ, “รูปแบบการรับ – ส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพื่อการดูแลต่อเนื่องกรณีศึกษา : โรงพยาบาลเขาชัยสน”, วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัยมหาวทิยาลัยฟาฏอนี, ปีที่ 13 ฉบับที่ 24 (มกราคม-มถิุนายน 2561):43-53.
บุญนำ กลิ่นนิรันดร์และคณะ, “ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้สูงอายุโรคหลอด เลือดสมองโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์”, วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, ปีที่ 22 (เดือน กรกฎาคม– ธันวาคม 2559):63-75.
บุบผา ดำรงกิตติกุล. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. สระบุร:ไทยศิริโรงพิมพ์, 2556

บรรณฑวรรณ รัญเคราะห์. “การพัฒนาระบบบริการในการมีส่วนร่วมของชุมชนและทีมสหสาขาเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง”, วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, ฉบับการประชุมวิชาการครบรอบ 25 ปี :36-45.
พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ.ปยุตโต). สุขภาวะองครวมแนวพุทธ, พิมพครั้งที่ 6.กรุงเทพมหานคร : บริษัทสหพริ้นติ้งแอนดพับลิสซิ่ง, 2551.
วศิน อินทสระ, เพื่อสุขภาพจิตที่ดี, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพธรรมดา),2556.
วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุล. เวซศาสตร์ฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมอง.กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอปปอชั่น, 2558.
วิโรจน์ ไววานิชกิจ . เวชศาสตร์ครอบครัวเบื้องต้น เล่ม 6 หลักการดูแลแบบทีมสหวิชาชีพสำหรับแพทย์ พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2562
วรายุภัสร์ กลางประพันธ์. “การพัฒนาการบริการสุขภาพอย่างต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในพื้นที่ตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม”, วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, ปีที่ ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 (ตุลาคม 2560 - มีนาคม 2561):29-41.
วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุลและคณะ, “การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพ”, วารสารการพยาบาล, ปีที่ 60 ฉบับที่ 3, (มกราคม - มีนาคม 2555):29-31.
ศิรวัฒน์ ครองบุญและคณะ, “การจัดการตนเองอย่างมีสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธส่งเสริมองค์กรแห่งความสุข”, บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, ปีที่ 7 ฉบับที่ 2: 237-250.
ศิริลักษณ์ ผมขาวและคณะ, “ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อแรงจูงใจในการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง”, วารสารสภาการพยาบาล, ปีที่34 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม – กันยายน 2562):30-42
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์ สำหรับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 7. นนทบุรี: สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2558.
สานุ มหัทธนาดุลและคณะ.“การเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมเพื่อวิถีชีวิตที่สมดุลตามแนวพุทธจิตวิทยา”, วารสารมหาจุฬานาครทรรสน์, ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (พฤษภาคม 2562):1164-1165
เสาวลักษณ์ ชาวโพนทอง. ผลการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โดยทีมสหสาขาวิชาชีพในคลินิกโรคไตเรื้อรังโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, ปีที่ 5 ฉบับที่ 3(กันยายน- ธันวาคม 2558):197-206.
สายใจ นกหนูและคณะ, “การพัฒนาโปรแกรมให้ความรู้ในการทำกายภาพบำบัดแก่ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง”, วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, ปีที่ 31 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2560):667-676.
อานันท์ สุดาพันธ์และคณะ. “หุ่นยนต์แบบโครงร่างสำหรับแขนท่อนบนกับกิจกรรมกายภาพบำบัดเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง”, วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรต, ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม -ธันวาคม 2560): 178-188
อังศุมาลิน พรจันทร์ท้าวและคณะ. “ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพข้อต่อความรู้และทักษะของญาติผู้ดูแลและการเคลื่อนไหวของข้อของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง”, วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย, ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม -มิถุนายน 2562):52-67.
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) , อ้างใน วัชรีกร ชูแก้วร่วง, “ศึกษากระบวนการจัดการสุขภาพชุมชนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อทราย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)
J.P.Mohr, Philip A.Wolf , James C.Gtotta , Michael A. Moskowitz , Mare R. Mayberg and Rudiger von Kummer. Stroke pathophysiology , Diagnosis, and Management. 5Th ed. United States of America. 2011.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-18