การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน ในเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พระปลัดคณิศร ขนฺติพโล
  • อนุภูมิ โซวเกษม
  • ยุทธนา ปราณีต

คำสำคัญ:

การเสริมสร้าง, วัฒนธรรมทางการเมือง, การเมืองแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

 

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การมีส่วนร่วมทางการเมือง 2) เปรียบเทียบการเมืองแบบมีส่วนร่วม และ 3) ข้อเสนอแนะการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร การวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากประชาชนในเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร จำนวน 397 คน เก็บข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

  1. การมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน
  2. ประชาชนที่การศึกษา และรายได้ ต่างกัน มีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานครโดยรวม แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มี เพศ อายุ อาชีพ ต่างกัน มีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย โดยรวมไม่แตกต่างกัน

3. การมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ด้านการเลือกตั้ง ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ด้านเป็นผู้มีบทบาทในชุมชน ประชาชนควรได้รับการปลูกฝังความเชื่อค่านิยม ด้านการติดต่อกับทางราชการ มีเหตุผลในการติดต่อประสานงานกับทางราชการ ในการให้ข้อมูลผู้กระทำผิดที่ส่งผลกระทบต่อสังคม ด้านการเป็นผู้สื่อข่าวทางการเมือง การสื่อสารในสิ่งที่ทำให้สังคมมีคุณธรรม ในการเสริมสร้างจิตใจของคนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม

References

เกรียงไกร พัฒนะโชติ. (2563). “วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ข้อมูลผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 2562, [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล : https://www.ect.go.th/ Bangkok Yai district, Bangkok [15 เมษายน 2563].
ดาวเรือง นาคสวัสดิ์. (2559). “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัยในห้วงเวลา ปี พ.ศ.2559”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง : มหาวิทยาลัยเกริก.
ปิ่นอนงค์ ทองบ่อ, “การเสริมสร้างความเข้าใจการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลพระอินทราชา อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”, สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2563).
พระจักรพงษ์ อนุตฺตโร (วงษ์โพธิ์). (2563). “ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อจริยธรรมของผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปลัดเอกชัย จนฺทโชโต (คงชีวะ). (2563). “การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นตำบลหนองแก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาณัฐพล กิตฺติปญฺโญ (อรรถารส). (2563). “การมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”, สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสร้อยทอง ปญฺญาวุโธ (ประทุมทอง). (2563). “การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พันธุ์ทิพา อัครธีรนัย. (2559). “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก : ศึกษาในช่วงเวลา พ.ศ. 2559”. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารการเมือง วิทยาลัยสื่อสารการเมือง. มหาวิทยาลัยเกริก.
ยงยุทธ พงษ์ศรี. (2561). “ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี : ศึกษาในห้วงเวลาปี พ.ศ. 2562”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารการเมือง. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง : มหาวิทยาลัยเกริก.

รัตนา สารักษ์. (2563). “การส่งเสริมวัฒนธรรมการเมืองของประชาชนใน อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2539). การเมืองการปกครองไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิจิตร เกิดน้อย, ยุทธนา ปราณีต, สุรพล สุยะพรหม. พฤติกรรมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ในตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 2563 : 129-139.
วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน. (2539). “วัฒนธรรมทางการเมืองกับพัฒนาการทางการเมืองไทย”. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาปัญหาพัฒนาการทางการเมืองไทย สาขาวิชารัฐศาสตร์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-25