นวัตวิถีของดีชุมชน : การต่อยอดภูมิปัญญาสู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

ผู้แต่ง

  • เอนก ใยอินทร์
  • พระครูสังฆรักษ์จักกฤษณ์ ภูริปญฺโญ
  • พระคมสัน เจริญวงค์

คำสำคัญ:

นวัตวิถีของดีชุมชน, การต่อยอดภูมิปัญญา, การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ 3) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และกิจกรรมการท่องเที่ยวของอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นงานดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย การประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง และการสนทนากลุ่มเฉพาะ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า

  1. พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ มีความมาอย่างยาวและสามารถสืบค้นย้อนไปถึงยุคทวาราวดี และมาพัฒนาการตามลำดับ แต่พบว่าความเจริญรุ่งเรืองขาดความต่อเนื่อง
  2. ภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอหนองบัว สามารถแบ่งออกเป็น 9 ด้าน คือ ด้านเกษตรกรรมภูมิ
    ด้านอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม ด้านภาษาและวรรณกรรม ด้านปรัชญา ศาสนา ประเพณี และด้านโภชนาการ
  3. กระบวนการต่อยอดนั้น เป็นการคัดเลือกเฉพาะภูมิปัญญาที่มีลักษณะเป็นเครื่องอุปโภคและบริโภค รวมถึงบริการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน เมื่อพัฒนาและจะต้องสอดรับการแผนการท่องเที่ยวของชุมชน สู่การสร้างมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจ
  4. นอกจากจะมีผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานคุณภาพแล้วประเด็นสำคัญจะต้องผลิตแผนที่ท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงความโดดเด่นทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ เครือข่ายชุมชนวิถีพอเพียง วิถีไทยวิถีธรรมและนวัตวิถีของดี

References

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย, คู่มือการบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP
นวัตวิถี, (2561), หน้า 2.
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, 'OTOP นวัตวิถี' ดึงภูมิปัญญา-วิถีชีวิต เพิ่มรายได้ชุมชนยั่งยืน, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/content/1193695, [27 ตุลาคม 2561].
ดลฤทัย โกวรรธนะกุล และคณะ, “การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ในลุ่มน้ำโขงบนฐานความเดิมแท้เพื่อตอบรับแผนการท่องเที่ยวของอาเซียน”, รายงานการวิจัย, (คณะวิทยาการจัดการ : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2557).
วีระพล ทองมา และคณะ, “การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของชุมชนชาวจีนในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่”, รายงานผลการวิจัย, (คณะพัฒนาการท่องเที่ยว : มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2554).
พรทิพย์ กิจเจริญไพศาล, “การศึกษาทรัพยากรท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนชาวมอญเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดปทุมธานี”, วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2553).
จุฑารัตน์ เจือจิ้น, “แนวทางการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม บ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด”, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปกร, 2555).
ปรัชญาพร พัฒนผล, “การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยววัฒนธรรมแม่น้ำเพชรบุรี”, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานวัฒนธรรม, (วิทยาลัยนวัตกรรม : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-01