การพัฒนาศักยภาพของเยาวชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ด้วยหลักพุทธธรรม
คำสำคัญ:
การพัฒนาศักยภาพ, เยาวชน, พุทธธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อศึกษาการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ด้วยหลักพุทธธรรม ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Method) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก
(In-Depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 36 รูป/คน ได้ใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structure Interview) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) จำนวน 8 คน ได้ใช้แบบบันทึกการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Technique) ผลการวิจัยพบว่า
- การพัฒนาศักยภาพของเยาวชนในจังหวัดเพชรบูรณ์โดยสภาพทั่วไปมีการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนใน 2 ด้าน คือ 1) ด้านวิชาการ 2) การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
- การสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ ดังนี้ 1) การสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพด้วยตัวของเยาวชนเอง ประกอบด้วย การพัฒนาด้านอุปนิสัย การพัฒนาด้านจิตใจ การพัฒนาด้านสุขภาพร่างกาย และการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ 2) การสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนจากครอบครัว ประกอบด้วย การพัฒนาด้านการอบรมเลี้ยงดู การพัฒนาด้านสุขภาพร่างกาย การให้คำปรึกษาแก่เยาวชน การพัฒนาด้านจิตใจ 3) การสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนจากโรงเรียน ประกอบด้วย การอบรมส่งสอนของครู การพัฒนาด้านทักษะให้แก่เยาวชน การให้คำปรึกษาแก่เยาวชน การพัฒนาด้านจิตใจ 3. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ด้วยหลักพุทธธรรม นำเสนอการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนใน 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) การพัฒนาด้านทักษะชีวิตเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคตบูรณาการกับหลักอิทธิบาท 4 2) การพัฒนาด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีบูรณาการกับหลักโยนิโสมนสิการและหลักสังคหวัตถุ 4 3) การพัฒนาความพร้อมในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพกับหลักภาวนา 4
References
Thianthip Diawkee. สำรวจพฤติกรรมวัยรุ่นไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.thaihealth.or.th/Content/47099-สำรวจพฤติกรรมวัยรุ่นไทย.html. [10 ธันวาคม 2562].
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. รายงานคดี ประจำปี พ.ศ.2557. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. 2558.
จิตติมา พักเพียง. “รูปแบบการบริหารงานตามหลักพุทธธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตภาคกลางตอนล่าง”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.2558.
ดาบตำรวจไทยมณี ไชยฤทธิ์. “รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนตามหลักพุทธธรรมเพื่อสนับสนุนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” .วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.2558.
พรพรรณ ธรรมธาดา. "กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามแนวคิดการเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน".วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2559.
พระมหาบุญรอด มหาวีโร. "การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากร ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 3".วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.2558.
มนทกานติ์ รอดคล้าย. "อิทธิพลของความรักความเข้าใจในครอบครัวต่อคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชนไทย". วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประชากรศาสตร์. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2561.
มูลนิธิดรุณาทร. สถานการณ์เยาวชนไทย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.com passionth.com/สถานการณ์เยาวชนไทย/. [10 ธันวาคม 2562].
วีรชัย ศรีหาพล. “การเสริมสร้างสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้แนวพุทธธรรม”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.2556.
สุดาภรณ์ อรุณดี. "ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนมนุษย์สู่ระดับโลกในศตวรรษที่ 21 กรณีศึกษา การพัฒนาสมรรถนะทุนมนุษย์ตามหลักพุทธญาณวิทยาและรูปแบบการจัดการทักษะความรู้รูปแบบ KSM Model". วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.2551.
สุนีย์ ชัยสุขสังข์. "กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนทางเลือก". วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา.คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2557.