แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสหวิทยาเขตวิภาวดี กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วิราวรรณ์ เพ็ชรนาวา
  • ทิพย์วรรณ สุขใจรุ่งวัฒนา

คำสำคัญ:

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, แนวทางการพัฒนา, สหวิทยาเขตวิภาวดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตวิภาวดี กรุงเทพมหานคร  2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตวิภาวดี กรุงเทพมหานคร 3) แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตวิภาวดี กรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยข้าราชการครูและบุคลากรโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตวิภาวดี กรุงเทพมหานคร จำนวน 270 คน และผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า

1) การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตวิภาวดี กรุงเทพมหานคร มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก 

2) ปัจจัยทุกด้านได้แก่ ภาวะผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร ครูผู้สอน และบรรยากาศองค์กร ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตวิภาวดี กรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 73.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3) แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตวิภาวดี กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู นโยบายการบริหารของผู้นำ วัฒนธรรมองค์กรแห่งกัลยาณมิตรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และการสร้างค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วมกันของครูและผู้บริหาร

References

ณัฐิกา นครสูงเนิน. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 10, 31 (มกราคม-มีนาคม).
ปิยะมาศ วงศ์แสน. (2560). วัฒนธรรมคุณภาพที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 11, 1 (มกราคม – มิถุนายน).
ปวีณา เจริญภูมิ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย 6,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม).
มินตรา ลายสนิทเสรีกุล. (2557). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา กรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา 9, 3 (2014). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิรัชดา ทานิล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย 8,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม).
วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ:ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วาสนา ทองทวียิ่งยศ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู ในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ:ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศกลวรรณ สินประเสริฐ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สรศักดิ์ นิมากร. (2560). แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนเฉพาะความพิการทางด้านร่างการหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ 6, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา. ชุดวิชา 23728 หน่วยที่ 6 ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Dora, H. (2015). Exploring the relationship between school-level teacher qualifications and teachers' perceptions of school-based professional learning community practices. เข้าถึงเมื่อ13 พฤษภาคม 2562. เข้าถึงได้จาก https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0742051X15300196
Hord, S.M. (1997). Professional learning communities: communities of continuous inquiry and improvement. Southwest Educational Development Laboratory, Austin: Taxas.
Vanblaere, B. & Devos, G. (2016). Relating school leadership to perceived professional learning community characteristics: A multilevel analysis. Ghent University, Belgium.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-19