การยกระดับแหล่งทุนชุมชนตามศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • เติมศักดิ์ ทองอินทร์
  • รัฐพล เย็นใจมา
  • กาญจนา ดำจุติ
  • เอนก ใยอินทร์

คำสำคัญ:

ทุนชุมชน, ศาสตร์พระราชา, พัฒนาที่ยั่งยืน, เครือข่ายแหล่งทุนชุมชน

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง การยกระดับแหล่งทุนชุมชนตามศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อยกระดับแหล่งทุนชุมชนตามศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 2) เพื่อสร้างเครือข่ายแหล่งทุนชุมชนในอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีผู้แทนเครือข่าย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และร่วมสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 40 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ผลการวิจัยพบว่า สามารถรวบรวมข้อมูลการยกระดับแหล่งทุนชุมชนที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต ความเชื่อ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นที่มีความสำคัญ พร้อมทั้งการบูรณาการภูมิปัญญาหรือแหล่งทุนที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตตามแนวพระพุทธศาสนาและการน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติ มีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยข้อที่ 1 ในการศึกษาและรวบรวมแหล่งทุนชุมชนได้ และเมื่อประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรก็การขาดเงินในการลงทุนที่ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตในด้านเศรษฐกิจ ขาดองค์ความรู้ในด้านการอยู่แบบวิถีพอเพียง จึงต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อยกระดับแหล่งทุนให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพราะจะต้องมีการสร้างเครือข่ายชุมชนมาช่วยขับเคลื่อนการทำงานเชิงรูปธรรม

References

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครสวรรค์. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร, 2542.

น. ณ ปากน้ำ ธิดา สาระยา. เมืองสุโขทัยนี้ดี. กรุงเทพมหานคร : เมืองโบราณ, 2530.

มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2555.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงสุโขทัยมาจากไหน?, กรุงเทพมหานคร : มติชน, 2548.

จีระศักดิ์ เจริญพันธ์ และสุนทร เดชชัย, “การพัฒนาภาคีเครือข่ายการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุข”, การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2554, การพัฒนาอนาคตชนบทไทย : ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน, (27-29 มกราคม 2554), หน้า 283.

ชรินทร์ มั่งคั่ง, “การถ่ายทอดองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาของครูศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองวิถีเขียวของผู้เรียนในพื้นที่โครงการหลวง ภาคเหนือของไทย”, Veridian E-Journal, Silpakorn University, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน 2561) .

นภสินธุ์ เรือนนาค และ สุเทพ สุสาสนี, วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2559).

นฤชา โฆษาศิวิไลซ์, “รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายพลังสังคมเชิงบูรณาการในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน”, วารสารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย, Vol. 11 No. 38 (ตุลาคม - ธันวาคม 2559).

ภัทรีพันธุ์ พันธุ และคณะ. ทุนทางมรดกทางวัฒนธรรม กับการเป็นเมืองเก่าที่มีชีวิตของจังหวัดน่าน, วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ Vol. 6 No. 6 (2014): ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2557).

วลัยลักษณ์ ทรงศิริ, “ถมอรัตน์ เขาศักดิ์สิทธิ์ของเมืองศรีเทพ”, เมืองโบราณ, ปีที่ 25 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2545).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-19