การมีส่วนร่วมทางการเมืองของบุคลากรเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี ในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไป

ผู้แต่ง

  • พระสุชาติ สุชาโต
  • ประณต นันทิยะกุล
  • ธัชชนันท์ อิศรเดช

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การเมือง, การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง  2. เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง และ 3. ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางสนับสนุนให้บุคลากรเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี มีส่วนร่วมทางการเมืองในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไป

การวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากบุคลากรเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี จำนวน 246 คน  เก็บข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

  1. บุคลากรเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี มีส่วนร่วมทางการเมืองในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไป โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.55) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านดังนี้ ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง ( =3.57) และด้านการประชาสัมพันธ์ ( =3.53) อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
  2. บุคลากรเทศบาลนครรังสิตที่มีสถานภาพ การสมรส และการศึกษาต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไป แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนบุคลากรที่มี เพศ อายุ รายได้ และการได้รับข่าวสารการเลือกตั้งต่างกัน มีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไป ไม่แตกต่างกัน
  3. แนวทางเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของบุคลากรเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี ในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไป มีดังนี้คือ ด้านการประชาสัมพันธ์ บุคลากรเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเป็นพลเมืองของประเทศ บุคลากรควรเป็นผู้แทนภาครัฐในการให้ความรู้หรือรณรงค์การเลือกตั้งที่ถูกต้องตามการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชน ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการศึกษาข้อมูลผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และรณรงค์ให้เห็นประโยชน์ที่เกิดจากการเลือกตั้งและอนาคตการเมืองของประเทศ ด้านการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง คือ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทุกคนต้องไปเลือกตั้ง ถ้าไม่ใช้สิทธิ์ให้ถือเป็นความบกพร่องต่อหน้าที่ เพราะเข้าถึงข้อมูลการเลือกตั้ง

References

เกรียงไกร พัฒนะโชติ. (2563). “วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โกวิทย์ พวงงาม. (2546). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

ณัฐกาญจน์ เข็มนาค. (2563). “พฤติกรรมทางการเมืองในการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2562 ในตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542). การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน จำกัด.

ปิยะรัตน์ สนแจ้ง. (2561). “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร: ศึกษากรณีประชาชนกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2562”. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง: มหาวิทยาลัยเกริก.

พระจักรพงษ์ อนุตฺตโร (วงษ์โพธิ์) (2563). “ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อจริยธรรมของผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดเอกชัย จนฺทโชโต (คงชีวะ). (2563). “การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นตำบลหนองแก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยงยุทธ พงษ์ศรี. (2561). “ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี: ศึกษาในห้วงเวลาปี พ.ศ. 2562”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารการเมือง. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง : มหาวิทยาลัยเกริก.

วิจิตร เกิดน้อย, ยุทธนา ปราณีต, สุรพล สุยะพรหม. พฤติกรรมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ในตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 2563 : 129-139.

.สมชาย วุฒิพิมลวิทยา. (2558). “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง นายกเทศมนตรี เทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี: ศึกษาในห้วงเวลา ปี 2558”. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง: มหาวิทยาลัยเกริก.

สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา.

สีซาริสมี วาแม. (2558). “การมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีในระดับท้องถิ่นในอำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส”. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-19