ปัจจัยที่มีอิทธิพลพลต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี ศิริวัฒน์
  • ชัยวุฒิ จันมา
  • พิศมัย จารุจิตติพันธ์

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีอิทธิพล, คุณภาพชีวิต, สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตและวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนโดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคคลที่ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า

บุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และการวิเคราะห์เส้นทางพบว่า บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมีคุณภาพชีวิตในระดับสูง และโมเดลเส้นทางปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (x2 =1.930, df = 1, x2/df = 1.930, P-value = 0.165, CFI =0.999, TLI = 0.991, RMSEA= 0.013, RMR = 0.02) โดยคุณภาพชีวิตของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดจาก พฤติกรรมการจัดการทางการเงิน (0.700) รองลงมาคือพฤติกรรมการวางแผนทางการเงิน (0.390) ทัศนคติต่อการจัดการทางการเงิน (0.386) ตามลำดับ

ผลการวิจัย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน มีอิทธิพลเชิงบวก 3 ตัวแปร คือ ด้านทัศนคติต่อการจัดการทางการเงิน ด้านพฤติกรรมการจัดการทางการเงิน ด้านพฤติกรรมการวางแผนทางการเงิน ซึ่งเป็นตัวแปรในโมเดลเส้นทางปัจจัยอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้ร้อยละ 67 (R2 = .67)

References

สนทยา เขมวิรัตน์และดวงใจ เขมวิรัตน์.(2553).ได้ศึกษาการวางแผนทางการเงินของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สนทยา เขมวิรัตน์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการการเงินส่วนบุคคลของบุคลากร กลุ่ม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์และคณะ .(2561).การจัดการการเงินส่วนบุคคลกับความสุขด้านการเงินของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี.ปีที่ 12 ฉบับที่ 29 เดือนกันยายน – ธันวาคม 2561.

มุกดา โควหกุล .(2559). การจัดการการเงินส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการออม ของประชากร ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.

Bernard J. Winger and Ralph R. Frasca. (2003). Personal finance: an integrated

planning approach. Upper Saddle River, N. J.; Prentice Hall.

Gitman, L.J. and Joehnk, M.D. (2005). Personal Financial Planning. Mason, OH: Thomson

Hallman, V.G. and Rosenbloom, J.S. (2000). Personal Finance Planning 6th edition. USA: McGraw Hill Companies.

Koh, B. and Fong, W. M. (2003). Personal Finance Planning. Singapore. Prentice Hall.

Louis E. Boone, David L. Kurtz, Douglas Hearth. (2002). Planning Your Financial Future 3rd edition. London: Thomson/South-Western.

Ming - Ming Lai and Wei – Khong Tan. (2009). An Empirical Analysis of Personal Financial Planning in an Emerging Economy. European Journal of Economics, Finance and Administrative Sciences. 16(1), 99 - 111.

Reilley, F.K. and Norton, E. (2006). Investments 7th edition. Thomson South - Western,Toronto: Canada.

WHO.(1994). The development of the World HealthOrganization Quality of Life Assessmentinstruments. In: Orley J, Kuyken W, editor. Qualityof life Assessment: international perspectives.New York: Springer-Verlag; 1994.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-19