การตื่นตัวทางการเมืองของชาวกัมพูชาที่พำนักอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • Ven. Sothearith Sum

คำสำคัญ:

การตื่นตัวทางการเมือง, ชาวกัมพูชา, จังหวัดสมุทรปราการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอแนวทางการตื่นตัวทางการเมืองของชาวกัมพูชาที่พำนักอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ชาวกัมพูชาที่พำนักอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 399 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน เลือกแบบเจาะจง และวิเคราะห์และสังเคราะห์ สรุปผล และนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตื่นตัวทางการเมืองของชาวกัมพูชาที่พำนักอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ

1) วุฒิภาวะทางการเมืองของผู้สมัครและผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ข่าวสารข้อมูลความรู้ และจิตสำนึกของการที่จะพยายามจรรโลงระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

2) วัฒนธรรมทางการเมืองที่เน้นสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรม และน้ำใจนักกีฬา โดยปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งของการเลือกตั้ง และ

3) การจัดหลักสูตรวิชาเกี่ยวกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มุ่งเน้นในการบ่มเพาะจิตสำนึกเรื่องอุดมการณ์ จริยธรรมทางการเมือง มารยาททางการเมือง และกระบวนการทางการเมืองแบบประชาธิปไตยที่พึงประสงค์

References

คงฤทธิ์ กุลวงษ์. (2561). “การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม”. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. กันยายน – ธันวาคม. 14 (3).

พงศกร ประภาชื่นชม. (2561). “ความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลลำสามแก้ว อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ผ่านสื่อสังคมออนไลน์”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรังสิต.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2529). วัฒนธรรมทางการเมืองและการกล่อมเกลาเรียนรู้ทางการเมือง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ลิขิต ธีรเวคิน. (16 ก.พ. 2549). “การพัฒนาอาตมันทางการเมืองแบบประชาธิปไตย”. หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน. 16 กุมภาพันธ์ 2549.

วิทยากร เชียงกูล. (23 ก.ย. 2563). “การปลุกเร้าความตื่นตัวทางการเมือง”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://social science.igetweb.com/index.php?mo=&art [23 กันยายน 2563].

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2549). การเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2563). กัมพูชากับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต. กัมพูชา : สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุรินทร์ นิยมางกูร. (2558). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสถียร ปรีดาสา. (2545). “ความสัมพันธ์ระหว่างความตื่นตัวทางการเมืองกับพฤติกรรมการเปิดรับและการใช้สื่อมวลชนเพื่อสนองความพึงพอใจของประชาชนจังหวัดมุกดาหาร กรณีการถ่ายทอดสดการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในช่วงปี 2535-2537”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Samuel Huntington. (1971). The Change to Change: Modernization. Development and Politics. Comparative Politics. 3 (3).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-19