บทบาทพระสงฆ์อำเภอเชียงแสนในการสร้างความปรองดองของคนในสังคม

ผู้แต่ง

  • ณรงค์ เจนใจ
  • กรชนก สนิทวงค์

คำสำคัญ:

บทบาท, ปรองดอง, พระสงฆ์, อำเภอเชียงแสน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายในการสร้างความปรองดองของคนในสังคม ทำการศึกษาจากเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล และพระเลขานุการ จำนวน 15 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แนวการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปประเด็นสำคัญและจัดหมวดหมู่ข้อมูลเพื่อสรุปและตีความ

ผลการศึกษาพบว่า พระสงฆ์ในบริบทของอำเภอเชียงแสนอยู่ในฐานะของผู้นำทางสังคมที่มีบทบาทในการสร้างความปรองดองของคนในสังคม ซึ่งสามารถแบ่งบทบาทการสร้างความปรองดองได้ 2 บทบาทได้แก่ 1)บทบาทตามข้อบัญญัติพระธรรมวินัยและกฎหมายที่ได้กำหนดไว้ และ 2) บทบาทในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณของชุมชน โดยที่สองบทบาทนี้สามารถนำไปปรับใช้เพื่อการขับเคลื่อนการสร้างความปรองดองในชุมชนอื่นได้ในอนาคต

References

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2545).การบริหารงานวิชาการ.กรุงเทพฯ:ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พระครูกิตติวรานุวัตร และคณะ. (2561). บทบาทพระสงฆ์ในการสืบสานวัฒนธรรมไทย.วารสารมหาจุฬานาคร ทรรศน์. 5(3). 468-487

พระครูปลัดเถรานุวัตร (สุเทพ สุเทวฺเมธี). 2561. พระสงฆ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 14(3). 127-142.

พระมหาอนุชา สิริวณฺโณ (พละกุล). 2556. การศึกษาพระสงฆ์กับการพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาวัดเทพปูรณาราม ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

โพสต์ทูเดย์. (2562). ธุระของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา. สืบค้นวันที่ 14 มกราคม 2564. จากhttps://www.posttoday.com/dhamma/602096.

สถาบันพระปกเกล้า. (2555). รายงานวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ. รายงานวิจัยเสนอต่อคณะกรรมการ วิสามัญพิจารณาการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติสภาผู้แทนราษฎร.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2540). ความขัดแย้งการบริหารเพื่อความสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : เลิฟ แอนด์ ลิพ เพรส.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-19