พิธีกรรมทางศาสนากับการปฏิบัติตนนิสิตสังคมศึกษายุคโลกาภิวัตน์

ผู้แต่ง

  • นัชพล คงพันธ์
  • พระครูอุทิตปริยัติสุนทร
  • พระครูอุทิตธรรมคุณ

คำสำคัญ:

พิธีทางศาสนา, การปฏิบัติตน, ยุคโลกาภิวัตน์

บทคัดย่อ

มนุษย์เรียนรู้ธรรมชาติที่มีเหตุมีผลเข้ามาเป็นแบบแผนและเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ตามความเชื่อศรัทธาของหลักศาสนาอันเป็นแก่นแท้ของศาสนานั้น ๆ เป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก เนื่องจากผลของการกระทำมีลักษณะเป็นนามธรรม การศึกษาทำให้ผู้ที่ศึกษาได้เกิดปัญญารู้จริงย่อมเห็นผลช้า ไม่เหมือนการสร้างวัตถุที่สามารถเห็นผลได้รวดเร็ว บุคคลไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใด บทบาทใด จะต้องยึดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต เพราะหลักธรรมคำสอนจะช่วยแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ได้ ศาสนาจึงเป็นที่พึ่งทางใจของมนุษย์ การปฏิบัติตนของบุคคลทั้งหญิงและชายยุคปัจจุบัน มีค่านิยมใหม่บางอย่างขัดแย้งกับค่านิยมเดิม ทำให้เกิดปัญหาการปฏิบัติตนอย่างไม่เหมาะสมในสังคม การไปวัด การไหว้พระสวดมนต์ การทำบุญตักบาตร และการแผ่เมตตา เป็นกิจกรรมที่ชาวพุทธเราพึงปฏิบัติกันเป็นประจำในชีวิตประจำวัน พระพุทธศาสนาในประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีพิธีกรรมทางศาสนาขึ้น เป็นเครื่องมือให้ศาสนิกชนของตน ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาที่มีลักษณะเป็นรูปธรรม ในความเชื่อศรัทธาในกิจกรรมหรือพิธีกรรมต่าง ๆ ของแต่ละศาสนาเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นเครื่องชี้ถึงความสามัคคี ความกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในประเทศชาติ ให้มีความมั่นคงและได้กระทำสืบต่อกันมา

References

กรมการศาสนา. ศาสนพิธี, คู่มือทำบุญบำเพ็ญกุศลสำหรับพุทธศาสนิกชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา. 2547.

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เทศกาลและพิธีกรรมพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. พิมพ์ลักษณ์. พระนครศรีอยุธยา: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2559.

ณัฐพงษ์ สังข์กลิ่นหอม. พิธีกรรมและศาสนาพิธี. https://sites.google.com/site/nathphngssangkhklinhxmiom/khwam-hmay-khxng-phithikrrm-laea-sasna. เข้าถึงข้อมูล 6 มกราคม 2563.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี. ทำไมวัยรุ่นไทยไม่เข้าวัดทำบุญ. [https://sites.google.com/site/tongniyomthai/thami-way-run-thiy-mi-khea-wad-tha. เข้าถึงข้อมูล 5 มกราคม 2563.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน. 2556.

. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (2546). พิมพ์ครั้งที่‎: ‎1. พิมพลักษณ์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด. 2546.

Rothenbuhler. E.W. Ritual Communication. U.S.A.: Sage, (1998), 3-27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-19