บทบาทพระสงฆ์กับการเสริมสร้างภูมิปัญญาชาวบ้าน

ผู้แต่ง

  • พระสมุห์บัว ทีปธมฺโม
  • พระครูวัชรสุวรรณาทร
  • พระครูวิรุฬห์วัชรธรรม

คำสำคัญ:

บทบาทพระสงฆ์, เสริมสร้างภูมิปัญญาชาวบ้าน

บทคัดย่อ

บทบาทพระสงฆ์ในอดีตมีความเกี่ยวเนื่องกันกับชาวบ้านมาโดยตลอด เพราะการดำรงชีวิตของพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายนั้น จำเป็นต้องพึงพาอาศัยชาวบ้าน เพราพระสงฆ์เราเองต้องมีอาหารเลี้ยงชีพ และอาชีพของพระภิกษุสงฆ์นั้นก็คือการบิณฑบาตคืออาหารที่พระสงฆ์จะมีฉันได้ก็เพราะอาศัยญาติโยมใส่บาตรเป็นหลัก เมื่อพระสงฆ์อาศัยชาวบ้านเลี้ยงชีวิต พระสงฆ์จึงเล็งเห็นความสำคัญในการที่จะเข้าไปเสริมสร้างภูมิปัญญาให้เกิดขึ้น ตามแบบวิถีดั้งเดิมของเกษตรกรให้ทำแบบบรรพบุรุษที่เคยได้ทำกันมาเป็นเวลายาวนาน  โดยการลงมือทำเองตั้งแต่เลือกฤดูการในการทำไรไถ่นา ต้องดูว่าหน้าไหนควรทำนา เพราะการทำนาต้องอาศัยน้ำ  เราจึงจำเป็นต้องเลือกหน้าทำนาเป็นฤดูหน้าน้ำ เวลาไถ่เราต้องเปิดน้ำเข้านา การเพาะปลูกข้าวก็ต้องเลือกเก็บเมล็ดพันธ์ข้าวที่ดีเอาไว้ทำการเพาะปลูก การไถ่ก็ดี การคาดก็ดี  ต้องให้มีความพอดี และการดูแลในเรื่องของการใส่ปุ๋ย เพื่อบำรุงข้าว ใส่ยาก็ต้องเลือกยา ว่าจะไม่ทำร้ายต้นข้าวหรือทำให้ข้าวเสียหาย เพื่อรักษาการทำนาทำไร่ให้คงอยู่สืบต่อไปทั้งลดรายจ่ายและสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำเกษตรลงได้เป็นอย่างมาก  และทำให้คุณภาพของชีวิตชาวนาไม่ต้องเจอกับสารเคมีและได้ผลผลิตที่ปลอดจากสารเคมีเป็นผลดีต่อตัวเกษตรกรและผู้บริโภค โดยยึดหลักเศรษฐกิจแบบพอเพียง ตามแนวหลักของพระพุทธศาสนาเพื่อสร้างสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน  คนในสมัยก่อนนั้นเขามีความเมตตาต่อกันมาก เขามีอะไรเขาก็จะแบ่งปันกัน ตามสภาวะของโลกปัจจุบันโดยไม่ได้มุ่งเน้นกำไรเป็นตัวหลัก

References

ธรรมเกียรติ กันอร, 2542 อ้างถึงใน พระสุภาพ สุภาโว (บัวบรรจง), บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตพื้นที่ตำบลยางค้อม อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช, วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม (พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561), หน้า 23.

พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม: 11 หน้า: 212 ข้อ: 266

มนต์พิธีสำหรับพระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนทั่วไป พระครูอรุณธรรมรังษี (พระครูสมุห์เอี่ยม สิริวณฺโณ) หน้า 177 โรงพิมพ์เรียงเชียงเพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 105/95-96

Kesanuch, S. (2016). The Monk Role Development for Resolving the Conflicts in Thai Social. Dhammathas Academic Journal, 16(1), 227-249.

Patumsawad, T. (2016). The participation of citizens in building strong communities Case Study Community Don Muang Khong. Rajapark Journal, 10(20), 178-189.

Phrakhrusamu Woravit Pasuko. (2016). The Monks with the Strengthening of the Communities: A Case Study of Wat Sam Chuk, on the Western Site and the Eastern Site, Journal of MCU Peace Studies, 4(sp1), 270-283.

Phrakru Suntornthammasophon. (2017). The Roles of Monks and the Development of Community. Retrieved September 25, 2017. From https://www.gotoknow.org/ posts/300502.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-21