ประสิทธิผลการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11

ผู้แต่ง

  • พระมหาสุริยา อภิวฑฺฒโน

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การบริหารจัดการ, การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 11 เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 และเพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 396 รูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) การวิจัยเชิงการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) จำนวน 17 รูป ต่อนั้นนำผลวิเคราะห์จากการสัมภาษณ์มาจัดทำการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussions) โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ จำนวน 13 รูป/คน เพื่อหาข้อที่บกพร่อง ทำให้บริบูรณ์ จัดเป็นองค์ความรู้ใหม่

ผลวิจัยพบว่าสภาพทั่วไปของการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
(  = 4.74) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยตามลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านการพัฒนาความรู้ของประชาชน (  = 4.87), ด้านการมีความสุขของประชาชน (  = 4.83), ด้านการเข้าถึงประชาชน (  = 4.69),และด้านการมีส่วนของประชาชน (  = 4.57) ตามลำดับ ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 พบว่า รายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยตามลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านบุคลากร (  = 4.72), ด้านวัสดุและอุปกรณ์ (  = 4.71), ด้านงบประมาณ (  = 4.67), และ ด้านการบริหาร (  = 4.66) ตามลำดับ และความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์หลักอิทธิบาทธรรมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์หลักอิทธิบาทธรรมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค11 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4. 67) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์หลักอิทธิบาทธรรมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 รายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยตามลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านวิมังสา (  = 4.71), จิตตะ
(  = 4.69), ด้านวิริยะ (  = 4.67) และด้านฉันทะ (  = 4.62),ตามลำดับ

References

พระครูปลัดสุวัฒน์จริยคุณ.(2547), นักวิชาการเทศนา, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ,) หน้า 48.

พระครูสุจิตบุญญากร (เนตร สรวมศิริ). (2560). การบริหารจัดการด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะ สงฆ์ภาค 12, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทินร์เอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ , ปีที่ 7, ฉบับที่ 1, หน้า 88-99.

พระครูญาณเพชรรัตน์ (เทวินทร์ ปิยทสฺสี ). (2557). ยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร , ปีที่ 2, ฉบับที่ 2, หน้า 80 – 93.

พระครูโฆษิตสังฆพิทักษ์ (ประเวท ถาฐาน).(2560). กลยุทธ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยใน สังคมปัจจุบัน, วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ ปีที่ 17, ฉบับที่ 3, (กันยายน - ธันวาคม หน้า 212– 223.

พระมหานงค์ อับไพ. (2555). “การบริหารการเผยแผ่พุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ ”, ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญา ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ , วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ:

มหาวิทยาลัยศรีปทุม,หน้า 78.

พระครูสุทธิกิจโกศล (สมภพ สุวโจ). (2559). “รูปแบบการเผยแผ่ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนนทบุรี ”,วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, หน้า 56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-21