แหล่งเรียนรู้นอกตำรา: พัฒนาการและแนวคิดสู่การปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเชิงบูรณาการ กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยบ้านนอก ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • เดโช แขน้ำแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • หทัยชนก คะตะสมบูรณ์
  • เบญญาภา อัฉฤกษ์
  • สัญญา สดประเสริฐ

คำสำคัญ:

แหล่งเรียนรู้นอกตำรา, หลักเศรษฐกิจพอเพียงเชิงบูรณาการ, มหาวิทยาลัยบ้านนอก

บทคัดย่อ

บทความนี้เพื่อศึกษาพัฒนาการและแนวคิดสู่การปฏิบัติของเศรษฐกิจพอเพียงเชิงบูรณาการ กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยบ้านนอก ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ผลการศึกษาพบว่า พัฒนาการ 4 ยุคด้วยกัน คือ (1) ยุคแรก เน้นการประชุม และระดมทุนร่วมกัน (2) ยุคเรียนรู้ เป็นการสำรวจข้อมูลครัวเรือน รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลปัญหา (3) ยุคเครือข่าย สร้างเครือข่ายองค์กรและทำงานเชื่อมประสานงานกับกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ (4) ยุคการท่องเที่ยว เป็นการต่อยอดทางความคิดและสร้างความสุขจากแนวคิดสู่การปฏิบัติของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้กิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การจัดการตลาดสีเขียวเพื่อลดใช้สารเคมี ธนาคารชุมชนเพื่อสร้างพื้นที่การออมเงิน การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อให้เก็บได้นานขึ้น ธนาคารขยะและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างพื้นที่สุขภาวะของชุมชน โฮมสเตย์เน้นการเข้ามาเรียนรู้วิถีชีวิตร่วมกัน ร้านค้าพอเพียงเพื่อหล่อหลอมให้เป็นคนดีและมีศีลธรรม สื่อชุมชนเพื่อส่งข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน กลุ่ม ฒ ผู้เฒ่า เป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมไทย และการเลี้ยงตะพาบน้ำแบบไม่ใช้สารเคมีเพื่อรายได้เสริม กลุ่มอาหารท้องถิ่นไทยเพื่อใช้ผลผลิตในชุมชนมาประกอบอาหาร กลุ่มเกษตรพื้นบ้านเน้นสวนผลไม้ให้นักท่องเที่ยวมาชมและเลือกรับประทานได้ และกลุ่มธนาคารต้นไม้เพื่อแปลงต้นไม้เป็นสินทรัพย์ที่ใช้หนี้ได้ตามกฎหมาย ทำให้ชุมชนมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงเชิงบูรณาการ

References

โครงการวารสารศาสตร์ดิจิทัล มหาวิทยาลัยรังสิต. (2563). การแปรวิกฤตเป็นโอกาส. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก: http://www.jr-rsu.net/article/681 (21 มกราคม 2563).

ณัฐนันท์ วิริยะวิทย์. (2561). การเรียนรูแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาทองถิ่นของสาขาวิชานิเทศศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตรและสังคมศาสตร, 13 (2): 82-98.

เดโช แขน้ำแก้ว. (2562). ประวัติชีวิตและการทำงานของประยงค์ รณรงค์ : บทสังเคราะห์ วิวาทะว่าด้วยเรื่อง

จริยศาสตร์การพัฒนา. วารสารการพัฒนาสังคม มจร, 4 (1): 1-12.

นงคราญ ไชยเมือง. (2558). การพัฒนาการจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 25(1): 15-39.

พนิตา สุขโกศล. (2551). วิทยุชุมชน ห้องเรียนการสื่อสารของคนในชุมชน.วารสารการสื่อสารมวลชน, 1 (2), 93-144.

พระมหาภูษิต อคฺควณฺโณ (ปุลันรัมย์). (2557). การพึ่งตนเองของชุมชนในตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารกิจการคณะสงฆ์) มหาวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยบ้านนอก. (2563). กลุ่มกิจกรรมการผลิต. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก: http://www.banjumrung.

org/Home/menu_02/jr_gproduct (21 มกราคม 2563).

วิสาขา ภู่จินดา และวิวัฒน์ แก้วดวงเล็ก. (2557). แนวทางการประยุกต์หลักนิคมอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศในการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านจำรุง ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5 (1): 64-83.

สุนีย์รัตน์ ศิริรักษ์. (2562). ทรัพยากรกับการจัดการทุนชุมชน. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก: https://www.

gotoknow.org/posts/329340,%20เมื่อ (21 มกราคม 2563).

หนังสือพิมพ์รังสิต. (2555). เชิญชวนชาวบ้านมาชิมของอร่อยในชนบท. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก: http://www.jr-rsu.net/article/676 (21 มกราคม 2563).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29