การสร้างศักยภาพเกษตรกรยุคใหม่ด้วยเกษตรแบบผสมผสาน : กรณีศึกษา บ้านลำแดง ตำบลหันตะเภา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • นิมิตร จันทร์คุ้ม

คำสำคัญ:

การสร้างศักยภาพ, เกษตรกรยุคใหม่, เกษตรผสมผสาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการสร้างศักยภาพเกษตรกรยุคใหม่ด้วยเกษตรแบบผสมผสาน บ้านลำแดง ตำบลหันตะเภา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการสร้างศักยภาพเกษตรกรยุคใหม่ด้วยเกษตรแบบผสมผสาน บ้านลำแดง ตำบลหันตะเภา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการการสร้างศักยภาพเกษตรกรยุคใหม่ด้วยเกษตรแบบผสมผสาน บ้านลำแดง ตำบลหันตะเภา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระเบียบวิจัยแบบ การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์จำนวน 16 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและ พรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า

  1. ศักยภาพการจัดการเกษตรแบบผสมผสานในหมู่บ้านลำแดง เมื่อเกิดการเรียนรู้ภายใต้การจัดการการเกษตรแบบผสมผสาน จึงส่งผลให้เกษตรกรอำเภอวังน้อยเกิดศักยภาพ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัด ขจัดการใช้จ่าย รวมพลังกันในรูปแบบกลุ่มเพื่อการผลิตการตลาด รวมทั้งสวัสดิการการพัฒนาสังคม และสร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้หลากหลาย โดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ภาคองค์กรพัฒนาเอกชน และภาคราชการ การทำการเกษตรแบบผสมผสาน จึงมีความสำคัญและบทบาทต่อภาคการเกษตร ที่จะส่งผลกระทบไปสู่การเจริญเติบโตของประเทศอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามต้องมีองค์ประกอบหลายประการ ที่จะทำให้การเกษตรวิธีนี้ ประสบความสำเร็จ เกษตรผสมผสานทำให้เกษตรกรได้รับการตอบสนองทั้งด้านส่วนตัวและสังคมระดับสูง ได้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้น มีรายได้มากขึ้น ครอบครัวอบอุ่นมีความสุขมากขึ้น ในระดับหมู่บ้านและระดับสถาบัน เป็นส่งผลเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
  2. เกษตรกรมีการวางแผนการเกษตรแบบพอเพียงด้วยตนเอง เช่น เกษตรแบบพอเพียงการปลูกพืชตามหลักทฤษฏีใหม่ มีการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีการนำผลผลิตในรอบเดือนจำหน่าย และการทำกิจกรรมร่วมกับภาครัฐ ทำให้มีรายได้เข้าสู่หมู่บ้านเศรษฐกิจแบบพอเพียงอย่างต่อเนื่อง และเกษตรกรที่ทำการเกษตรปลูกพืชอาหารจำหน่ายในรูปแบบพืชอาหารผสมผสาน จำหน่ายตลาดมีการวางแผนทางการเกษตรช่วยให้มีรายได้เข้าครอบครัว และหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นคงทางรายได้ที่ชัดเจน สามารถส่งบุตรหลานเรียน และจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับรายได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังเป็นวิทยากรในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารกิจกรรมเชิงท่องเที่ยวทางการเกษตร และสมาชิกในครอบครัวยังเป็นส่วนหนึ่งของแรงงานหลักในการสร้างผลผลิต และสืบทอดองค์ความรู้ทางด้านการเกษตรแบบผสมผสานในการผลิตผลผลิตออกจำหน่ายสู่ตลาด เชื่อมโยงสมาชิกในครอบครัวอื่นของหมู่บ้านที่ประกอบอาชีพเศรษฐกิจแบบเกษตร
  3. เกษตรกรผ่านการทำการเกษตรแบบผสมผสานขับเคลื่อน ในการดำเนินกิจกรรมจนทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ เน้นการบริโภคภายในหมู่บ้านชุมชนเป็นหลัก และหมู่บ้านชุมชนยังใช้เครื่องในการขัดเกลาจิตใจ ที่ก่อให้เกิดความเสียสละ คือ หลักธรรมตามพระพุทธศาสนา และมีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเป็นการใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีความซับซ้อน เน้นความเรียบง่าย สามารถควบคุมได้ง่ายจัดการกันเองได้ และมีต้นทุนที่ต่ำหรือมีต้นทุนสูงมากนัก ต้องไม่ทำลายทรัพยากรทั้งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูภูมิปัญญาเริ่มจากการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับตนเอง ส่งต่อไปสู่หมู่บ้านชุมชนต่อไป

References

คมสัน หุตะแพทย์. (2561). เกษตรผสมผสานแบบประณีต 1 ไร่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ การเกษตรธรรมชาติ.

วิฑูรย์ ปัญญากุล. (2552). เกษตรยั่งยืน: วิธีการเกษตรเพื่ออนาคต. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสาย ใยแผ่นดิน.

วิทยา อธิปอนันต์. (2542) ไร่นาสวนผสมตาม แนวทฤษฎีใหม่. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริม การเกษตร.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2548) แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency Based Learning, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พรินท์ จำกัด (มหาชน).

วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ และคนอื่นๆ. (2554) เกษตรกรรมทางเลือก: หนทางรอดของสังคมไทย.

กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์. (2561). ส่องรายได้เงินสดเกษตร ปี 61 ผลงานรัฐดันรายได้ เกษตรกรเพิ่มขึ้นผลผลิตเกษตรได้คุณภาพ, แหล่งที่มา: https://www.moac.go.th/news-preview-411391791354 สืบค้นเมื่อ 25 ก.ย. 2562

ศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร (2561). สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ดัชนีรายได้ดัชนีราคาและดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561, แหล่งที่มา: http://www.oae.go.th. สืบค้นเมื่อ 25 ก.ย. 62

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-16