พุทธปัญญาส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนของผู้ปฏิบัติธรรม
คำสำคัญ:
พุทธปัญญา, ส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตน, ผู้ปฏิบัติธรรมบทคัดย่อ
ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาเนื้อหาและสาระสำคัญในทฤษฎีพุทธปัญญา
2. เพื่อศึกษาเนื้อหาและสาระสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาตน 3. เพื่อศึกษาการพัฒนาพุทธปัญญาส่งเสริมจิตลักษณะการเห็นคุณค่าในตนของผู้ปฏิบัติธรรม การวิจัยนี้เป็นวิธีวิจัยกึ่งทดลอง โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทและเอกสารที่เกี่ยวข้องนำมาสร้างโปรแกรมพุทธปัญญาส่งเสริมจิตลักษณะการเห็นคุณค่าในตน เพื่อรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 70 รูปคน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 35 และกลุ่มทดลอง 35 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบภายในกลุ่มโดยใช้สถิติ Paired t- test และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t- test
ผลการวิจัย มีดังนี้
- ผลของโปรแกรมระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ คือ ค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 3.22 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.36 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมพบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 3.51 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.42 อยู่ในระดับมาก จากการเปรียบเทียบกันก่อนหลังของสองกลุ่ม พบว่า
มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกัน เท่ากับ 0.29 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.06 - ผลการเปรียบเทียบค่าความแตกต่าง และคา Sig ของการเขาร่วมกิจกรรมโปรแกรมการอบรม ก่อนการทดลอง พบว่า การเห็นคุณค่าในตน ของกลุมทดลองและกลุ่มควบคุม โดยภาพรวม กลุ่มทดลอง n 35 ราย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.47 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.40 t- 0.729 Sig 0.49 กลุ่มควบคุม n 35 ราย
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.36
3. ผลการเปรียบเทียบค่าความแตกต่าง และคา Sig ของการเขาร่วมกิจกรรมโปรแกรมการอบรม หลังการทดลอง พบว่า การเห็นคุณค่าในตน n 35 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.79 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53 t -0.521 Sig.0.04* มีนัยสำคัญอยู่ในระดับ 0.05 นี่เป็นลักษณะของผู้ที่ปฏิบัติธรรมในขั้นเบื้องต้น ก็เท่ากับทำลายภพชาติ ไปมากมาย การที่จะเวียนว่ายตายเกิดก็จะสั้นลง และพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด แต่ถ้าหากบุคคล ได้เพียรพยายามต่อไป พ้นทุกข์สิ้นเชิงสมบูรณ์ได้เสวยวิมุตติสุข
References
ธัมมานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามธรรม ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อโสดาปัตติผล มีปัญญาแก่กล้า บรรลุผลแล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ (องฺ.ทุก.อ. 2/49/55, องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/162.
สุธนี สิกขะไชย,”ผลของการใช้โปรแกรมต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์ สำนักงานเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร”, ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2555),
สมิทธิ์ เจือจินดาและ วรรณนภา โพธิ์ผลิ, การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการเห็นคุณค่าของตนเองสำหรับผู้สูงอายุ ในชุมชนเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร, ทุนจากงบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ที่ได้รับการเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ, (2562), บทคัดย่อ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.