การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนบ้านห้วยสิบบาท อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • เอนก ใยอินทร์
  • หัฏฐกรณ์ แก่นท้าว
  • พระมหาสุริยะ มทฺทโว

คำสำคัญ:

การอนุรักษ์, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ชุมชนบ้านห้วยสิบบาท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนบ้านห้วยสิบบาท อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาในท้องถิ่น องค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่า และสร้างกิจกรรมสืบทอดภูมิปัญญาแก่เยาวชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussions) วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

ผลการวิจัย ประการแรก พบว่า ชุมชนบ้านห้วยสิบบาท มีพัฒนาการทางด้านประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน ตามหลักฐานปรากฏเรื่องชาติพันธุ์ในจังหวัดสระบุรี ระบุว่าหลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกราวปี พ.ศ. 2310 ภาวะสงครามทำให้มีการเคลื่อนย้ายผู้คนระหว่างกลุ่มไทย-ลาว กลายเป็นเส้นทางการค้าทางบกระหว่างลุ่มน้ำโขงกับลุ่มน้ำเจ้าพระยา ต่อมาได้ก่อตั้งเป็นชุมชนแบบพหุวัฒนธรรม ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติ พื้นที่ดังกล่าวจึงเหมาะสำหรับเป็นที่พักของคารวานพ่อค้าและปศุสัตว์ (กระบือ) เพื่อติดต่อค้าขายพ่อค้าในกรุงเทพมหานคร อาชีพดังกล่าวยังมีการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ประการที่สอง จากการสืบค้นพบว่าบ้านห้วยสิบบาทมีภูมิปัญญา จำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ
1) องค์ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี 2) องค์ความรู้ภูมิปัญญาเกี่ยวกับอาชีพและวิถีชีวิต สามารถยกระดับให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการและวิชาชีพแก่คนในชุมชน

ประการที่สาม กิจกรรมที่พัฒนาขึ้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 1) กิจกรรมส่งเสริมวิชาชีพที่เหมาะแก่ประชาชนทั่วไป 2) กิจกรรมส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตเหมาะแก่เยาวชน ทั้ง 2 รูปแบบเป็นการพัฒนาศักยภาพโดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาในชุมชนเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันในชุมชน

References

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. การสร้างองค์กรชุมชนและเครือข่ายการพัฒนาชุมชน. เอกสารประกอบการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนากับการพัฒนาสังคม. กรุงเทพมหานคร: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. 2557.

ภาสกร นันทพานิชและคณะ. MBA Handbook : คู่มือสำหรับนักบริหาร และนักศึกษาปริญญาโท. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร: ออฟเซ็ท จำกัด. 2554.

สวนดุสิตโพล. (2560). “ปัญหาสังคม” ในสายตาคนไทย ณ วันนี้. แหล่งที่มา https://suandusitpoll.

dusit.ac.th/UPLOAD_FILES/POLL/2560/PS-2560-1493514283.pdf สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2563.

สำนักงานจังหวัดสระบุรี. (2559). ข้อมูลการวิเคราะห์ความต้องการและศักยภาพของประชาชนในท้องถิ่นจากเวทีประชาคมภายใต้ แผนพัฒนาอำเภอ ของจังหวัดสระบุรี ทั้ง 13 อำเภอ. แหล่งที่มา http://www.saraburi.go.th/web2/ files/com_strategy/2017-12_9c975b039c08603.pdf สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2563.

สุวรรณฤทธิ์ วงศ์ชะอุ่มและคณะ. การบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมสู่การสร้างเส้นทางท่องเที่ยวที่มีคุณค่าของตำบลท่าคา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2553.

อัจฉรา ชัยชาญ และคณะ. “แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชนในการป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสียงทางเพศของเยาวชน”. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ครั้งที่ 9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29