การศึกษาคุณลักษณะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดมหาสารคามที่มีพฤติกรรม ติดสื่ออินเทอร์เน็ต และไม่ติดสื่ออินเทอร์เน็ตในสมาร์ทโฟน

ผู้แต่ง

  • องอาจ ญาตินิยม -
  • รังสรรค์ โฉมยา

คำสำคัญ:

การศึกษาคุณลักษณะ, นักเรียนระดับมัธยมศึกษา, พฤติกรรมติดสื่อและไม่ติดสื่อ, สื่ออินเทอร์เน็ตในสมาร์ทโฟน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง การศึกษาคุณลักษณะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดมหาสารคามที่มีพฤติกรรมติดสื่ออินเทอร์เน็ต และไม่ติดสื่ออินเทอร์เน็ตในสมาร์ทโฟน โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาพฤติกรรมการติดสื่ออินเทอร์เน็ต 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของนักเรียนที่ติดสื่อและไม่ติดสื่ออินเทอร์เน็ต และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านพฤติกรรมและด้านอารมณ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม โดยมีระเบียบวิธีการวิจัย โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาวิจัย พบว่า (1) ผลการศึกษาพฤติกรรมการติดสื่ออินเทอร์เน็ตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดมหาสารคามจากตัวอย่างทั้งหมด 398 คน พบว่า มีนักเรียนกลุ่มที่ติดสื่ออินเทอร์เน็ตในสมาร์ทโฟนมีจำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 37.3 (2) ผลการศึกษาคุณลักษณะของนักเรียนที่ติดสื่อ ในระดับมัธยมศึกษา จังหวัดมหาสารคาม พบว่า ในคุณลักษณะด้านเพศ ในนักเรียนกลุ่มติดสื่ออินเทอร์เน็ต ในสมาร์ทโฟน เป็นชาย 67 คน หญิง 83 คน รวม 150 คน คิดเป็นร้อยละ 37.6 ในคุณลักษณะด้านอายุ ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ16–18 ปี ในคุณลักษณะด้านการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 คุณลักษณะด้านเศรษฐกิจ พบว่า ได้รับรายรับจากผู้ปกครองต่อเดือน ส่วนใหญ่ ระหว่าง 2,001 – 3,000 บาท คุณลักษณะด้านสังคม พบว่า สถานภาพทางครอบครัวของนักเรียนส่วนใหญ่ยังอยู่ด้วยกัน ในคุณลักษณะด้านการติดสื่ออินเทอร์เน็ตในโทรศัพท์สมาร์ทโฟน พบว่าในคุณลักษณะที่อยู่ในระดับมากมีอยู่ 2 คุณลักษณะคือ คุณลักษณะด้านการแสดงออกถึงตัวตน คิดเป็นร้อยละ 14.5 และคุณลักษณะด้านการใช้งานที่หลากหลาย คิดเป็นร้อยละ 18.5 (3) ผลการศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะ ด้านพฤติกรรม และด้านอารมณ์ พบว่านักเรียนที่ติดอินเทอร์เน็ต เปรียบเทียบตามตัวแปรด้านพฤติกรรม พบว่า ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมแบบเก็บตัว (Introversion) คิดเป็นร้อยละ 32.4 เปรียบเทียบตามตัวแปรด้านคุณลักษณะทางอารมณ์ ส่วนใหญ่พบว่า มีคุณลักษณะทางอารมณ์แบบอ่อนไหว (Neuroticism) คิดเป็นร้อยละ 29.8

References

ฐานิดา ไชยนันท์. 2560.“พฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นประถมปีที่3. ในเขต กรุงเทพมหานคร”.กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, คณะแพทย์ศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญมาศ ทองมูลเล็ก และปรีชา วิจิตรธรรมรส.2560. “ศึกษางานวิจัยเรื่อง การศึกษาปัจจัยที่มีผล ต่อการยอมรับและการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ในสังคมไทย”. กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม,ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (10) ก.ค. - ธ.ค. 60/ น.114-124

ปิยวัฒน์ เกตุวงศา, และศุทธิดา ชวนวัน. (2558). ใครเป็นใครบนเครือข่ายสังคมออนไลน์: ความ หลากหลายทางคุณลักษณะและพฤติกรรม. ประชากรและสังคม 2558: ความหลากหลายทางประชากรและสังคมในประเทศไทย ณ ปี 2558 (น. 15-28). นครปฐม: สถาบันวิจัย ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ผกาวรรณ นันทะเสน และอัจศรา ประเสริฐสิน.2563.“พฤติกรรมการติดอินเทอร์เน็ตกับภาวะซึมเศร้า :เหตุปัจจัยและแนวทางการป้องกันแก้ไข”. กรุงเทพมหานคร: วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล ปีที่ 36 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2563/น.293-304.

พิชยา วัฒนะนุกูล,วาสนา ผิวขม และเปรม จันทร์สว่าง.(2560).”พฤติกรรมและปัจจัยการใช้สมาร์ทโฟนใน

กลุ่มวัยรุ่น”. วิทยานิพนธ์,สาขาสารสนเทศ สถิติ คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รวิกานต์ นันทเวช.2550. “ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการติดอินเทอร์เน็ตในนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร”. กรุงเทพมหานคร: ปริญญานิพนธ์ หลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรัท พฤกษากุลนันท์. 2551. “โรคเสพติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) ”. [online]. เข้าถึงจาก http://www.thaiseoboard.com/go/?http://www.edtechno.com/ (16 พฤศจิกายน 2562).

สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน. 2561.“ชวนพ่อแม่ที่มีลูกเล็กแบนสมาร์ทโฟนกันเถอะ”เผยแพร่: 8 ส.ค. 2561 10:06.ผู้จัดการออนไลน์.เข้าถึงจากhttps://mgronline.com/qol/detail/9610000078702

สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2560. การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใน ครัวเรือน พ.ศ.2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

Aviv Weinstein, Laura Curtiss Feder, Kenneth Paul Rosenberg,Pinhas Dannon. Internet Addiction Disorder:Overview and Controversies. Behavioral Addictionshttp: //dx.doi.org /10.1016/B978-0-12-407724-9.00005-7.2014 Elsevier Inc. 99 - 117

Songli Mei, Jingxin Chai, Shi-Bin Wang, Chee H. Ng, Gabor S. Ungvari and Yu-Tao Xiang Mobile Phone Dependence, Social Support and Impulsivity in ChineseUniversity Students. Reprinted from: Int. J. Environ. Res. Public Health 2018, 15, 504, doi:10.3390/ijerph15030504 :118

Yeon-Jin Kim, Hye Min Jang, Youngjo Lee, Donghwan Lee and Dai-Jin Kim. Effects of Internet and Smartphone Addictions on Depression and Anxiety Based on Propensity. Score Matching AnalysisReprinted from: Int. J. Environ. Res. Public Health 2018, 15, 859, doi:10.3390/ijerph15050859 :184

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29