ผลของโปรแกรมการฝึกอบรมแบบบูรณาการพละ 5 และการคิดเชิงบวกที่มีต่อการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตนและสุขภาวะทางจิตของกลุ่มสมาชิก สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย
คำสำคัญ:
พละ 5, การคิดเชิงบวก, การริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตน, สุขภาวะทางจิตบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกอบรมบูรณาการพละ 5 และการคิดเชิงบวกที่มีต่อการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตนและสุขภาวะทางจิตของกลุ่มสมาชิกสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 72 คน อายุ 20-70 ปี ด้วยวิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 36 คน กลุ่มทดลองได้รับการฝึกพละ 5 และการคิดเชิงบวก ด้วยชุดฝึกจำนวน 8 กิจกรรม รวม 11 สัปดาห์ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมที่ 1–7 ใน 3 สัปดาห์แรก และอีก 8 สัปดาห์มีเรียนรู้แบบกลุ่มทางไกลและฝึกผ่านสมุดบันทึกด้วยตนเอง จนนำมาบูรณาการความเข้าใจในกิจกรรมที่ 8 เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย ชุดกิจกรรม “คิดบวกเพื่อความสุขใจ” และชุดเครื่องมือทดสอบด้วยแบบวัดการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลภายในกลุ่มทดลองก่อนหลังการทดลองและติดตามผลด้วย One-way ANOVA Repeated Measure และวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วย Two-way ANOVA Repeated Measure
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตนและค่าคะแนนสุขภาวะทางจิตสูงมากขึ้นหลังทดลอง ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลอง คะแนนการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตน ก่อน หลังการทดลองและระยะติดตามผล มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01(p < .01, F = 21.162) และคะแนนสุขภาวะทางจิต มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01(p < .01, F = 41.397) แสดงว่าการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตนและสุขภาวะทางจิต หลังการทดลอง และระยะติดตามผล มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
References
ทวีศักดิ์ แสงทอง, เจาะอินไซต์ ‘คนวัยทำงาน’ จุดเปลี่ยนบนชีวิตวิถีใหม่, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/tech/974980 [1 ธันวาคม 2564].
นพ.สุวัฒน์ ธนกรนุวัฒน์, ผลของการฝึกสติและคิดบวก ที่มีต่อสุขภาวะเชิงอัตวิสัยของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน, พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พุทธจิตวิทยา), มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2562: 89.
พิทักษ์ สุพรรโณภาพ, “การคิดเชิงบวก: ตัวแปรในการพัฒนาชีวิต Positive Thinking: Life Development Variable”, วารสารวิชาการ Veridian E–Journal, Silpakorn University, ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 (กันยายน–ธันวาคม 2561) 1958-1978.
ยรัตน์ดุล เลาห์วีระพานิช, “ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองกับสุภาวะทางจิตของนิสิตนักศึกษา โดยมีการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตนเป็นตัวแปรส่งผ่าน”, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา, (คณะจิตวิทยา: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2558): บทคัดย่อ.
วิมลรัตน์ ปฏิพัทธ์วุฒิกุล, “ผลของกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธที่มีต่อการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตนและการเผชิญปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย”, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา, (คณะจิตวิทยา: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2555), 1.
เวนเทรลล่า สก็อตต์ ดับเบิ้ลยู, อานุภาพแห่งความคิดเชิงบวกในโลกธุรกิจ, แปลโดย วิทยา พลายมณี, (กรุงเทพมหานคร: เอ. อาร.์ บิซิเนส เพรส, 2545) :101-131.
Atkinson, R.C. & Shiffin, R.M., “Human Memory: A Proposed System and its Control Processes”, Psychology of Learning and Motivation, Vol. 2 (1968): 89-195.
Leu, J.; Wang, J.; & Koo, K. (2011). Are positive emotions just as “positive” across cultures? Emotion. 11: 1-5.
Ryff, C.D., “Beyond Ponce De Leon and Life Satisfaction: New Directions in Quest of Successful Aging”, International Journal of Behavioral Development, Vol. 12 No. 1 (1989): 35–55.
Robitschek, C., “Personal Growth Initiative: The Construct and Its Measure”, Measurement and Evaluation in Counseling and Development, Vol. 30 (1998): 183-198.
Robitschek, C. & Keyes, C.L.M., “Keyes's Model of Mental Health with Personal Growth Initiative as a Parsimonious Predictor”, Journal of Counseling Psychology, Vol. 56 (2009): 321-329.
Seligman, M., “Positive Psychology: An Introduction”, American Psychologist, Vol. 55 No. 1 (2000): 5-14.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.