การพัฒนาโปรแกรมฝึกการคิดแบบโยนิโสมนสิการ เพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่า ในตนเองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • ณดล โตไทยะ topcatdog@hotmail.com
  • ลักขณา สริวัฒน์

คำสำคัญ:

โปรแกรมฝึกการคิด, โยนิโสมนสิการ, การเห็นคุณค่าในตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย (1) เพื่อศึกษาระดับการเห็นคุณค่าในตัวเอง (2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมฝึกการคิดแบบโยนิโสมนสิการ เพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง (3) เพื่อเปรียบเทียบระดับการเห็นคุณค่าในตนเองก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม (4) เพื่อศึกษาความคงทนของการเห็นคุณค่าในตนเองที่เข้าร่วมโปรแกรม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ จำนวนนักเรียน 22 คน ที่มีระดับการเห็นคุณค่าในตัวเองต่ำ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบวัดการเห็นคุณค่าในตัวเอง (2) โปรแกรมฝึกการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐาน ด้วยการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองระดับปานกลาง (2) โปรแกรมฝึกการคิดแบบโยนิโสในสิการที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ หลักการของโปรแกรม วัตถุประสงค์ของโปรแกรม เนื้อหาโปรแกรม วิธีดำเนินการและการประเมินผลโปรแกรม และได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญพิจารณาแล้วมีเกณฑ์เหมาะสม (3) ระดับการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หลังเข้าร่วมโปรแกรมฝึกการคิดแบบโยนิโสมนสิการสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่เข้าร่วมโปรแกรมฝึกการคิดแบบโยนิโสมนสิการ มีความคงทนของการเห็นคุณค่าในตนเองหลังการทดลองทันทีและหลังการทดลอง
1 เดือน ไม่แตกต่างกัน

References

โกวิทย์ พงษ์ภักดี และฉันทนา กล่อมจิต. (2553). การใช้โปรแกรมฝึกการคิดแบบโยนิโสมนสิการ เพื่อ พัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัย บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น (EDGKKUJ), 4 (1), 12-18.

ณัฐกมล ชาญสาธิตพร ชัยวัฒน์ วงศ์อาษา และศิริกุล อิศรานุรักษ์. (2545). สัมพันธภาพในครอบครัว

การยอมรับจากเพื่อน กับการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กวัยรุ่นตอนต้น. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 32 (2), 129-139.

ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน และวิมลรัตน์ วันเพ็ญ. (2556). แนวทางการช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมรุนแรง สำหรับบุคลากรสาธารณะสุข. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ดีน่าดู มีเดีย พลัส จำกัด.

ทิศนา แขมมณี. (2557). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ธนาธิป หอมหวล มรรยาท รุจิวิชชญ์ และชมชื่น สมประเสริฐ. (2557). การเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยวัยรุ่นเสพติดแอมเฟตามีน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 28 (1), 81-91.

นิรุทธ์ วัฒโนภาส. (2554). ผลของการให้คำปรึกษาแนวโยนิโสมนสิการที่มีต่อการเพิ่มพูนจิตสำนึก สาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal SU, 4(1), 688-703.

ปรทิพย์ พันธุ์มณี. (2555). สมรรถนะการเห็นคุณค่าในตนเองที่มีพื้นฐานจากองค์การและผลการ ปฏิบัติงาน ของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทสื่อสารโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). คิดถูก คิดเป็น. กรุงเทพมหานคร: งานบุญกลุ่มขันธ์ห้าเดือน กุมภาพันธ์.

พระพรหมคุณากรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2550). โยนิโสมนสิการวิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ ฟริ้นท์.

พระมหาสุรศักดิ์ มุ่งซ้อนกลาง. (2557). การศึกษาผลการเรียนรูและการคิดแบบคุณโทษและทางออกเรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโส

มนสิการ (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรรณดาว ศูนย์กลาง. (2550). ผลของการฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการโดยผ่านกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

เพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้างของเยาวชนที่มีระดับสติปัญญาแตกต่างกันในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและ เยาวชนชาย บ้านกรุณา (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วราพร ขันพล นิธิดา อดิภัทรนันท์ และจารุณี มณีกุล. (2557). การใช้เทคนิคเอส ที เอ ดี เพื่อส่งเสริม ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษและการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. พิฆเนศวร์สาร, 10 (1), 113-122.

วิเชียร อินทรสมพันธ์. (2551). การเห็นคุณค่าในตนเอง. วารสารสารสนเทศ, 9 (1).

ศศิวิมล อินทปัตถา และเดชา จันทคัต. (2561). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโยนิโส มนสิการ ร่วมกับการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2), 209-223.

สุณัฐฐา สุนทรวิภาต และปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ. (2560). ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะการคิดตามหลัก โยนิโสมนสิการที่มีต่อความวิตกกังวลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารอิเล็กทรอนิกส์

ทางการศึกษา, 12 (4), 269-281.

อนุรักษ์ บัณฑิตย์ชาติ. (2542). ความตระหนักในคุณค่าของตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (รายงานการวิจัย). กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

อรุณทิพย์ หงส์พิทักษ์ และกาญจนา ไชยพันธุ์. (2558). ผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎี เผชิญความจริงต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของวัยรุ่น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น (EDGKKUJ), 9 (1), 211-221.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30