การหาปริมาณโลหิตสำรองคงคลังของงานธนาคารเลือด กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ และพยาธิวิทยาคลินิก โรงพยาบาลนครนายก

ผู้แต่ง

  • ฉวีวรรณ จัดภัย

คำสำคัญ:

การบริหารปริมาณโลหิตสำรอง , ประสิทธิภาพในการหาโลหิตสำรอง , หมู่โลหิต

บทคัดย่อ

โลหิตเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญในการรักษาผู้ป่วย ทุกวันนี้ยังไม่มีผู้ที่สามารถคิดค้นสิ่งใดมาใช้ทดแทนโลหิตได้อย่างสมบูรณ์ จึงจำเป็นต้องมีการบริจาคโลหิต เพื่อนำไปช่วยชีวิตผู้ป่วย ดังนั้น ผู้วิจัยจึงศึกษาการพัฒนาการบริหารจัดการโลหิตสำรองที่มีประสิทธิภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปริมาณโลหิตสำรองที่เหมาะสมของโรงพยาบาลนครนายก

วิธีการ โดยรวบรวมข้อมูลการใช้โลหิตของผู้ป่วยในโรงพยาบาลนครนายก ย้อนหลัง 6 เดือน ระหว่าง 1 กรกฎาคม ถึง 31 ธันวาคม 2563 โดยจำแนกข้อมูลโลหิตตามชนิดของส่วนประกอบโลหิตและหมู่โลหิต ABO ซึ่งศึกษาเฉพาะส่วนประกอบของโลหิตที่มีการสำรองคงคลัง (Stock) ของธนาคารเลือด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เม็ดโลหิตแดงชนิด packed red blood cells (PRC) และ leukocyte poor packed red cells (LPRC) พลาสมาสดแช่แข็ง fresh frozen plasma (FFP) Cryoprecipitate (CPP) และโลหิตหมู่พิเศษ
(Rh Negative blood) กรณี CPP ไม่แยกศึกษาตามโลหิต ABO เพราะ CPP สามารถใช้กับผู้ป่วยทุกหมู่โลหิต ABO ส่วนหมู่โลหิต Rh Negative ศึกษาเฉพาะผลิตภัณฑ์โลหิตแดง (red blood cells) เนื่องจากมีปริมาณการใช้น้อยและไม่สามารถสรุปเป็นรายวันได้ จึงรวบรวมจำนวนยูนิตของเม็ดโลหิตแดงหมู่ Rh Negative
ที่ให้แก่ผู้ป่วยภายในระยะเวลา 6 เดือน (หรือ 26 สัปดาห์)

          ผลการศึกษา จากการศึกษาพบว่ามีการใช้โลหิตแดง จำนวน 1,838 ยูนิต พลาสมาสดแช่แข็ง จำนวน 800 ยูนิต ไครโอปรีซิปิเตทจำนวน 64 ยูนิต และมีการใช้เม็ดโลหิตแดงหมู่ Rh negative จำนวน 5 ยูนิต การคำนวณหาปริมาณเม็ดโลหิตแดงสำรองที่เหมาะสม จากวิธีคำนวณปริมาณโลหิตสำรองเฉลี่ยต่อต่อสัปดาห์ จำแนกตามหมู่โลหิต O, A, B, และ AB ได้เท่ากับ 30, 29, 12, และ 20 ยูนิต ตามลำดับ ปริมาณพลาสมาสดแช่แข็งที่เหมาะสมจากการคำนวณการใช้ต่อสัปดาห์ เท่ากับ 20, 19, 12 และ 20 ยูนิต ตามลำดับ การสำรองไครโอปรีชิปริเตทที่เหมาะสมคำนวณการใช้ต่อสัปดาห์ เท่ากับ 64 ยูนิต

References

กัลยาณี แสงสุข. การศึกษาหาปริมาณโลหิตสำรองที่เหมาะสมของโรงพยาบาลตำรวจ. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต. 2553;20:169-177.

พรรณวดี เอี่ยมตะโก. การบริหารจัดการโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2556

สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย. ความรู้สู่ประชาชน “การบริจาคโลหิตในยุค COVID-19”. เข้าถึงได้จาก htpp://tsh.or.th/Knowledge.

อมรรัตน์ ร่มพฤกษ์ แลคณะ ผลการสำรองเลือดของคลังเลือดกลาง เพื่อใช้ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์และศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในระยะเวลา 5 ปี (2556-2560). ศรีนครินทร์เวชสาร 2562; 34(1): 99-106.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2022-09-20