ปัจจัยสู่ความสำเร็จสถาบันการเงินชุมชนบ้านดอน ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และสถาบันการเงินชุมชนบ้านแม่ใจใต้ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ปัจจัยความสำเร็จ, สถาบันการเงินชุมชน, สวัสดิการชุมชนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง ปัจจัยสู่ความสำเร็จสถาบันการเงินชุมชนบ้านดอน ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และสถาบันการเงินชุมชนบ้านแม่ใจใต้ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยสู่ความสำเร็จของสถาบันการเงินชุมชน และแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่นำไปสู่ความสำเร็จของสถาบันการเงินชุมชน โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือ การวิจัยแบบผสานวิธี โดยผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสู่ความสำเร็จ ได้แก่ การวางแผน การสื่อสาร ทักษะภาวะผู้นำ เครื่องมือ กระบวนการ การบริหารจัดการ และการทำงานร่วมกัน โดยปัจจัยทั้ง 7 นี้ มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน ทั้งยังมีความสำคัญ และมีส่วนช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ สอดคล้องกับความคิดเห็นของสมาชิกสถาบันการเงินชุมชนที่มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุดต่อ 7 ปัจจัยสู่ความสำเร็จ และยังพบว่าการบริหารจัดการเป็นปัจจัยสำคัญที่เชื่อมโยงปัจจัยอื่น ๆ ให้ดำเนินงานไปพร้อมกันจนบรรลุถึงเป้าหมายหรือความสำเร็จที่ต้องการ ทั้งนี้ได้พบแนวทางการปฏิบัติที่ดีคือ ภายใต้บริบทของชุมชน สถาบันการเงินชุมชนควรสร้างสรรค์ระบบสวัสดิการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยให้การบริหารจัดการนั้นอยู่ภายใต้ความเชื่อมั่นความไว้วางใจของสมาชิก ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิบัติงานที่ซื่อสัตย์ของคณะกรรมการ นอกจากนี้สถาบันการเงินชุมชนต้องสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของให้เกิดขึ้นในจิตใจของสมาชิก ให้สมาชิกมองเห็นคุณค่าและความสำคัญของสถาบันการเงินชุมชน ในฐานะที่ตนเองมีส่วนร่วมในการสร้างและพัฒนา เป็นสิ่งมีค่าที่ต้องช่วยกันดูแลรักษา นอกจากนี้ยังพบว่าแนวทางการปฏิบัติที่ดีเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการนำทุนทางสังคมมาใช้ และส่งผลให้สถาบันการเงินชุมชนได้กลายเป็นทุนทางสังคมของชุมชน
References
กรกนก น้อยเนม. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของสถาบันการเงินชุมชนปากเกร็ดร่วมใจ 2 จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (การบริหารและการพัฒนาสังคม) กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กรมการพัฒนาชุมชน. (2547). รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนแบบมืออาชีพ กรณีศึกษากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กรุงเทพมหานคร: รำไทยเพลส.
ชุติมณฑน์ วงษ์คำหาร. (2559). ความสำเร็จในการนำนโยบายการยกระดับกองทุนหมู่บ้านเป็นสถาบันการเงินชุมชนไปปฏิบัติ: กรณีศึกษา สถาบันการเงินชุมชนปากเกร็ดร่วมใจ 2. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เทิดศักดิ์ ทองแย้ม. (2558). “การจัดตั้งและแนวทางการพัฒนาสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี” วารสารนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. 3 (1) น. 3-12.
ปิยะวดี ยอดนา. (2561). การบริหารแบบบูรณาการของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จังหวัดสกลนคร. ดุษฎีนิพนธ์ ปรด. (สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา) สกุลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546. (1 ตุลาคม 2546) ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 6-20.
พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2550. (28 ธันวาคม 2550) ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 12-20.
ไพรัช กาญจนการุณ, ศศิเพ็ญ พวงสายใจ, สุขุม พันธุ์ณรงค์ และพิมลพรรรณ บุญยะเสนา. (2558). “การศึกษาจากกรณีศึกษา Microfinance เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการระบบให้บริการทางการเงินระดับจุลภาคในชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษา 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน” วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 19 (2) น. 67-81.
สุชา สิริจันทร์ชื่น และศิวัช ศรีโภคางกุล. (2560). “การศึกษาความสำเร็จของการบริหารงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น” วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม. 4 (1) : หน้า 61-72.
สุภาภรณ์ วงศ์รักตระกูล. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของสถาบันการเงินชุมชน จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (สาขาเศรฐศาสตร์สหกรณ์) กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.
สุรชัย กังวล. (2552). การบริหารจัดการที่เหมาะสมของสถาบันการเงินชุมชน. ดุษฎีนิพนธ์ ปร.ด. (สาขาวิชาบริหารศาสตร์) เชียงใหม่: บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สุวลังก์ วงศ์สุรวัฒน์, ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย และวฤษสพร ณัฐรุจิโรจน์. (2562). “การบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระดับดีมาก: กรณีศึกษาจังหวัดนครปฐม” วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 7 (3) : หน้า 888-898.
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). หลักการพัฒนากองทุนเป็นสถาบันการเงินชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (2556). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ, สำนักสถิติพยากรณ์, กลุ่มงานวิเคราะห์และพยากรณ์สถิติเชิงเศรษฐกิจ. (2545).
“การนำเสนอผลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์: แผนที่ความยากจน 2545” [ออนไลน์] แหล่งที่มา: http://service.nso.go.th/nso/povertymap/poverty.html (27 พฤศจิกายน 2562).
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8. (2562). ถอดบทเรียนความสำเร็จ: ปัจจัยความสำเร็จกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบึงสามัคคี. ลพบุรี: สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8.
สำนักงบประมาณของรัฐสภา, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงบประมาณของรัฐสภา.
อรรถพล บางปา. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อุมาวดี เดชธํารงค. (2563). ปัจจัยแหงความสําเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษา สถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
Huerta, A. (2010). Microfinance in Rural and Urban Thailand: Policies, Social Ties and Successful Performance. Chicago : University of Chicago.
Hussain, M. D. & Ahmed, I. (2020) “Corporate Governance in Microfinance Organizations: Review and Agenda” Albukhary Social Business Journal. 1 (1) page 33-45.
Rahman, W., Farid, K. S. & Mollah, B. R. (2016). “Why Has Bangladesh Made Success in Microfinance? An Application of Social Relations Model” Indian Journal of Social Research. 57 (3) page 441-462.
Ussif, R. (2020). “Microfinance Institutions Challenges In Poverty And Unemployment Reduction In Ghana” International Journal of Engineering and Information Systems. 4 (7) page 114-123.
Ussif, R., Ertuğrul, M., Coskun, M. & Onur, I. (2020). “The Relationship Between Microfinance Institutions Poverty Alleviations And Unemployment In Ghana” International Journal of Academin Accountion, Finance & Management Research. 4 (7) page 102-117.