ความสัมพันธ์ของกลุ่มทหารที่มีอิทธิพลต่อการเมืองไทย

ผู้แต่ง

  • กิตติวินท์ หาญศักดิ์สิทธิ์ -
  • วัลลภ พิริยวรรธนะ

คำสำคัญ:

วงศ์เทวัญ, บูรพาพยัคฆ์, การรวมกลุ่มของทหาร, การสืบทอดอำนาจทางการเมือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาในความสัมพันธ์ของทหารในการรวมกลุ่ม 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะความเป็นเอกภาพของการรวมกลุ่ม 3) เพื่อศึกษาผลกระทบของการรวมกลุ่มของทหารที่มีต่อระบบการเมืองไทย วิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดยการวิจัยเอกสาร การวิจัยภาคสนาม มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 คน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้การตรวจสอบข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ โดยวิเคราะห์เนื้อหา ที่อาศัยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย จากการจำแนกและจัดระบบข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ภายใต้การศึกษาแนวคิดความสัมพันธ์บทบาททางการเมือง

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสัมพันธ์ของกลุ่มวงศ์เทวัญ เป็นชื่อเรียกของทหารบกที่รับราชการในกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์และกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ขณะที่กลุ่มบูรพาพยัคฆ์ เป็นกลุ่มนายทหารกองทัพที่รับราชการในกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ เริ่มมีบทบาทมาก จากเหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2557 ซึ่งอุดมการณ์ของทั้งสองกลุ่มมีความเป็นอนุรักษ์นิยมแบบกษัตริย์นิยมและชาตินิยม 2) สายสัมพันธ์การรวมกลุ่ม ทำให้เกิดความเป็นเอกภาพ ประกอบด้วย 2.1) ความเป็นเครือญาติ 2.2) สายการบังคับบัญชา 2.3) ผลประโยชน์ 3) ผลกระทบของการรวมกลุ่ม ของทหารที่มีต่อระบบการเมืองไทย ทำให้เกิดความถดถอยของระบอบประชาธิปไตย ทำลายระบบนิติรัฐ เกิดการสถาปนารัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ โดยไม่มีมิติทางสัญญาประชาคม แต่เป็นมิติทางอำนาจนิยมเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร รวมถึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย เช่น เกิดวงจรอุบาทว์

References

กำพล จำปาพันธ์. (2558). บทปริทัศน์หนังสือการเมืองสมัยพระนารายณ์. วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 7. สำนักพิมพ์มติชน.

กิจบดี ก้องเบญจภุช.(2560). การสืบทอดอำนาจทางการเมืองโดยมิชอบ. บทความวิจัย. วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น. เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2560.

ชัยอนันต์ สมุทรวณิช. (2525). ยังเติร์กกับทหารประชาธิปไตย : การวิเคราะห์บทบาททหารใน

การเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ปรัชญาการพิมพ์.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2549). การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.

วันวิชิต บุญโปร่ง และธีรพงษ์ บัวหล้า. (2564). การเปลี่ยนแปลงบทบาททางการเมืองของกองทัพไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2535-2563. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์และความมั่นคง มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปิยะภพ มหะมัด. (2558). โลกาภิวัฒน์ ภูมิภาคอภิวัฒน์ท้องถิ่นอภิวัฒน์นัยต่อสังคมไทย. เอกสารนำเสนอในการประชุมวิชาการ. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สุรชาติ บำรุงสุข. (2559). เสนาธิการทหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.

Boonprong, Wanwichit. (2000). The Thai Military Since 1957: The Transition to Democracy and the Emerging of the Professional Solider. Master Dissertation, University of Adelaide.

Finer, Samuel E.(1962). The man on horseback: the role of the military inpolitics. London: Pall Mall Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30