รูปแบบหมู่บ้านสันติสุข 9 ดี ตามแนวทางพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระครูอัมพวันพิทักษ์

คำสำคัญ:

รูปแบบ, หมู่บ้านสันติสุข 9 ดี, ตามแนวทางพระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง รูปแบบหมู่บ้านสันติสุข 9 ดี ตามแนวทางพระพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษานโยบายและรูปแบบหมู่บ้านสันติสุข 9 ดี (2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบหมู่บ้านสันติสุข 9 ดี ตามแนวทางพระพุทธศาสนา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ

           ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดบุรีรัมย์ ได้นำธรรมนูญ 9 ดี มาพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์เรียกว่ารูปแบบหมู่บ้านสันติสุข 9 ดี โดยมีเครื่องมือในการวางแผนพัฒนาที่เรียกว่า BCM Model โดยกำหนดเป้าหมายสูงสุด บุรีรัมย์สันติสุข บนความพอเพียง ซึ่งมีปัจจัยความสำเร็จ 9 ประการ คือ เป็นคนดี มีปัญญา รายได้สมดุล สุขภาพแข็งแรง สิ่งแวดล้อมสมบูรณ์ สังคมอบอุ่น หลุดพ้นอาชญากรรม จัดตั้งกองทุนพึ่งพาตนเอง สร้างความเข้มแข็งคณะกรรมการหมู่บ้าน หลักพุทธธรรมสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข มี 3 หมวดคือ (1) หลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อเป็นโซ่ทองคล้องใจ (2) หลักพรหมวิหาร 4 สำหรับผู้ใหญ่ปกครองผู้น้อย (3) หลักศีล 5 เป็นหลักประกันชีวิตให้เกิดความสุขแบบยั่งยืน รูปแบบหมู่บ้านสันติสุข 9 ดี ตามแนวทางพระพุทธศาสนา ได้นำธรรมนูญ 9 ดี มาผสมผสานกับหลักพุทธธรรม 3 หมวด ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์และสัมภาษณ์จนได้รูปแบบหมู่บ้านสันติสุข 9 ดี ตามแนวทางพระพุทธศาสนาว่าด้วย ศีล 5 สังคหวัตถุ 4 และ พรหมวิหาร 4 ด้วยองค์ความรู้ หมู่บ้านสันติสุข 9 ดี ตามแนวทางพระพุทธศาสนา MSH โดย M (Man/rules of Morality) หมายถึงคนดี มีปัญญา สุขภาพแข็งแรง มีศีล 5, S (Social/ Social Solidarity) หมายถึงสังคมดี มีรายได้สมดุล สิ่งแวดล้อมสมบูรณ์ สังคมอบอุ่น มีสังคหวัตถุธรรม และ H (Happy/ Holy abidings) หมายถึง ความสุขที่ยั่งยืน หลุดพ้นอาชญากรรม จัดตั้งกองทุนพึ่งพาตนเอง และสร้างความเข้มแข็งคณะกรรมการหมู่บ้าน มีพรหมวิหารธรรม 

References

จักรกฤษณ์ โพดาพล. ผู้บริหารกับพรหมวิหารธรรม. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.mbuslc.ac.th› web›uploads›2016/11 [1 กันยายน 2564].

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. “การใช้ผลผลิตจากการวิจัยทางจิตพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนาคนไทย”. วารสารจิตวิทยา. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2539): 60.

สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์. คู่มือกระบวนการสร้างบุรีรัมย์สันติสุข 9 ด้วย BCM Model . บุรีรัมย์: กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์, 2557.

พระครูอรุณสุตาลังกา, ผศ ดร. “พุทธธรรม: พลังขับเคลื่อนสู่สังคมสันติสุข”. ใน สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต ประจำปี 2559. หน้า 77-78. รวบรวมโดยคณะกรรมการกลั่นกรองบทความทางวิขาการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2559.

พระปลัดมงคล วราสโย (เรืองอาคม). “แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนประถมศึกษา อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ ในเครือบริษัท สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด, 2558.

พระมหานพดล สีทอง. สังคหวัตถุ 4 และแนวทางการปฏิบัติในการทำงาน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: castool.com/2016/12/02/สังคหวัตถุ-4-และแนวทางการปฏิบัติในการทำงาน [22กุมภาพันธ์ 2564].

พระวิมาร คมฺภีรปญฺโญ. “การศึกษาวิเคราะห์ศีล 5 ในฐานะเป็นรากฐานของสันติภาพ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2555.

พุทธทาสภิกขุ. การกลับมาแห่งศีลธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2521.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน). พรหมวิหารธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บริษัทสหายการพิมพ์ จำกัด, 2527.

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาศน์ วาสโน). สังคหวัตถุ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2528.

อมร อำไพรุ่งเรือง. “การศึกษาพฤติกรรมการรักษาและการล่วงละเมิดศีล 5 ของพุทธศาสนิกชน กรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2554.

อมรวิชช์ นาครทรรพ. การสังเคราะห์ประสบการณ์ในชุดโครงการวิจัยด้านการศึกษากับชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์, 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30