หลักธรรมทางพระพุทธศาสนากับการรับมือปัญหาการรังแกบนโลกไซเบอร์ในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • ณัฐชยา กำแพงแก้ว
  • พระครูธรรมคุต
  • ณัฐหทัย นิรัติศัย

คำสำคัญ:

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา, การรังแกบนโลกไซเบอร์ในสังคมไทย

บทคัดย่อ

พฤติกรรมการรังแกบนโลกไซเบอร์ Cyberbully จัดเป็นหนึ่งในสถิติปัญหาความรุนแรงในสังคมและเกือบทุกประเทศทั่วโลก โดยปัญหาที่เกิดขึ้นยังคงมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้น และยังถือว่าเป็นภัยเงียบที่กำลังคุมคามคนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัยในสังคม โดยเฉพาะในปัจจุบันที่เทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาระบบการสื่อสารที่ไร้ขีดจำกัดอย่างรวดเร็ว การดำเนินชีวิตที่ไม่มีความสุข มีความวิตกกังวลสูง ปัญหาสุขภาพจิตตามมาได้ในอนาคต และความช่วยเหลือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งจากพ่อแม่ ครอบครัว คุณครูและผู้ให้บริการเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดีย ตลอดจนมาตรการทางกฎหมายในการช่วยป้องกันและรับมือกับการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ ซึ่งสอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า “นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต” แปลว่า “ผู้ไม่ถูกนินทา ย่อมไม่มีในโลก”(ขุ.ธ. ๒๕/๔๕) ซึ่งจากพุทธสุภาษิตดังกล่าวได้อธิบายหลักความจริงหรือธรรมชาติของมนุษย์เกี่ยวกับการถูกนินทาว่าร้ายว่าเป็นเรื่องปกติที่เราจะหลบหนีจากคำตำหนิติเตียนไม่ได้ เช่นเดียวกันกับการถูกกระทำ Cyberbully นั้นย่อมสร้างบาดแผลในใจให้เกิดความเจ็บปวด บอบช้ำและไม่มีความสุข แต่หากเราสร้างภูมิคุ้มกันในจิตใจให้แข็งแกร่งก็จะทำให้สามารถเอาชนะปัญหา กอบกู้ความกล้าหาญ และความมั่นใจในการใช้ชีวิตกลับมาใหม่ได้เสมอ และในขณะเดียวกันผู้ที่เป็นผู้กระทำนั้นก็ต้องควรตระหนักถึงปัญหาและหยุดพฤติกรรมการรังแกกัน เพราะไม่มีใครในโลกนี้สมควรถูกคุกคาม และทุกคนล้วนสมควรได้รับการให้เกียรติด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นโลกของความเป็นจริงหรือบนโลกไซเบอร์

References

กัลยาณมิตร. (2563). ความรู้พระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาตนเอง โลกธรรม 8 (เรื่องของโลก 8 ประการ). แหล่งที่มาจาก https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=15432 สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565

ปองกมล สุรัตน์. (2561). การรังแกผ่านโลกไซเบอร์ในมิติสังคมวัฒนธรรม : กรณีศึกษาเยาวชนไทยเจนเนอเรชั่น Z. กรงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อตุลอุปาสกวัตถุ เรื่องอตุลอุบาสก. โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทยเล่ม : 25 หน้า : 103. แหล่งที่มา https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=25&siriphp?B=25&siri=26#p103 สืบค้นเมือวันที่ 10 มีนาคม 2565

ศศิประภา เกษสุพรรณ. (2562). การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต: การวัด การจัดกลุ่ม และความแตกต่างระหว่างเพศของนิสิตระดับปริญญาตรี. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา

สุภาวดี เจริญวานิช. (2560). การรังแกกับผ่านพื้นที่ไซเบอร์ : ผลกระทบและการป้องกันในวัยรุ่น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ปีที่ 25 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม – สิงหาคม น.639-648.

สุขภาพคนไทย 2562. (2562). สื่อสังคมสื่อสองคม สุขภาวะคนไทยในโลกโซเชียล. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สามารถ มังสัง. (2562). โลกธรรม 8 : สัจธรรมประจำโลก. แหล่งที่มาจาก https://mgronline.com สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส). (2563). Cyberbully คืออะไร ส่งผลอย่างไร และเราคนควรรับมือกับมันอย่างไรดี. แหล่งที่มา : https://resoureecenter.thaihealth.or.th สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565)

ฤทัยชนนี สิทธิชัย. (2562). พฤติกรรมการรังแกบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Popiko. (2563). ผลวิจัยคนไทยมักล้อเลียนเรื่องรูปลักษณ์และเพศ ในโลกออนไลน์. แหล่งที่มาจากhttps://www.droidsans.com สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565

TanadeSirinumas. (2563). Cyberbullying การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์มีกี่ประเภท. แหล่งที่มาจากhttps://www.medium.com สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30