การสร้างเครือข่ายฟื้นฟูวิถีชีวิตและสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดสุโขทัย ตาก กำแพงเพชร
คำสำคัญ:
การสร้างเครือข่าย, มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, กลุ่มชาติพันธุ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตจังหวัด สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร เพื่อสร้างเครือข่ายฟื้นฟูวิถีชีวิตและสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตจังหวัดสุโขทัย ตาก กำแพงเพชร และหาแนวทางส่งเสริมและนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชาติพันธุ์ในเขตจังหวัดสุโขทัย ตาก กำแพงเพชร โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลคือ
ผู้อาวุโสและปราชญ์ชุมชน ผู้นำวัฒนธรรมของหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาชาวเขา จำนวน 60 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยใช้เทคนิคสามเส้า
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสุโขทัย ตาก และกำแพงเพชร มีวิถีชีวิตและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สำคัญ เช่น การสืบทอดประเพณีปีใหม่ การอนุรักษ์ภูมิปัญญาชนเผ่า หัตถกรรมชนเผ่า ดนตรีชนเผ่า การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ เป็นต้น ด้านกระบวนการในการสร้างเครือข่ายฟื้นฟูวิถีชีวิตและสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ มี 3 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างให้เกิดการยอมรับในระดับปัจเจกบุคคล โดยการปรับตัว การพัฒนาตนเอง และการก้าวข้ามภาวะความเป็นวัฒนธรรมย่อย 2) การสร้างความสัมพันธ์ระดับกลุ่มและการจัดตั้งกลุ่มสัมพันธ์ 3) การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ไปสู่การยอมรับระดับเครือข่าย ด้วยการประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมและวัฒนธรรมไปสู่การสร้างเครือข่ายต่างๆขึ้น ส่วนแนวทางส่งเสริมและการนำผลการวิจัยไปใช้สำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ ประกอบด้วย 1) การพัฒนาต้นแบบวิถีชีวิตและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร 2) การทดลองใช้นวัตกรรมฯและ 3) การประเมินผลการทดลองการใช้ นวัตกรรมฯ ทั้งนี้พบว่าปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขให้ประสบความสำเร็จมีอย่างน้อยสามประการ คือ ประการแรกชุมชนมีวิถีชีวิตและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นในด้านการจัดการท่องเที่ยว ประการที่สองชุมชนมีศักยภาพในการบริหารจัดการและประการสุดท้ายคือ การได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
References
กาญจนา คำผา และคณะ. (2561). แนวทางการสืบทอดประเพณีฮีตสิบสองเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. วารสารราชพฤกษ์, 16(1), 65-74.
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กระทรวง. (2558). แผนแม่บทการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย (พ.ศ.2558-2560). กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
ชัยสิทธิ์ ดำรงวงศ์เจริญ. (2550). การจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงอนุรักษ์โดยมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาภูผายนต์ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. วัฒนธรรมศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชูเกียรติ นพเกตุ. (2542). การท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน จุดเริ่มต้นของการพัฒนาอย่างยั่งยืน. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พัฒนาสังคมและสวัสดิการ, กรม. (2545). การศึกษาเรื่องโครงการศึกษารูปแบบการเสริมสร้างเครือข่ายพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ.
ธัญญลักษณ์ อุ่นใจ. (2560). ประสิทธิผลการจัดการเครือข่ายงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของเทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน. รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์. (2548). ทุนทางสังคม. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส).
วิจัยสังคม, สถาบัน. (2555). คู่มือการจัดการ การท่องเที่ยวชุมชนและบ้านพักแบบโฮมสเตย์. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วัลลภา มณีเชษฐา. (2558). การจัดการทรัพยากรป่าไม้ในรูปแบบเครือข่ายของตำบลทาเหนือ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริวรรณ งอกงาม. (2558). การจัดการความรู้ในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อรทัย มิ่งธิพล และกัลยารัตน์ ลิ้มเสรี. (2552). ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของ ชุมชนปกาเกอะญอ บ้านห้วยส้มป่อย ภายใต้ข้อจำกัดของเกษตรพื้นที่สูง และทรัพยากรธรรมชาติ ลุ่มน้ำแม่เตี๊ยะตอนบน อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
โอกามา จ่าแกะ. (2560). กระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมผ้าปักชาวเขาสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาชนเผ่าม้งและเมี่ยน จังหวัดกำแพงเพชร.
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 23 (3), 52-70.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.