คุณภาพชีวิตที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • สุภัทธนีย์ ขุนสิงห์สกุล
  • พชรดนัย วัชรธนพัฒน์ธาดา

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ประสิทธิภาพในการทำงาน, อุตสาหกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับคุณภาพชีวิต 2) ระดับประสิทธิภาพการทำงาน และ 3) ความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพิจิตร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพิจิตร พ.ศ. 2564 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของทาโร ยามาเน่ ได้จำนวน 333 คน คำนวณสัดส่วนในแต่ละตำแหน่งงาน ประกอบด้วยหัวหน้างาน 11 คน และพนักงาน 322 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ด้วยวิธีการจับสลากรายชื่อ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพชีวิตในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพิจิตร ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 2.66, SD.=.62) 2) ประสิทธิภาพในการทำงานในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพิจิตร ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 2.92, SD.=.29) และ 3) คุณภาพชีวิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพการทำงานในภาพรวมมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง ( =.62*) โดยสถานภาพ ส่วนบุคคลที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม. (2563). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก https://www.mhesi.go.th/home 20 พฤษภาคม 2564.

กริช สืบสนธิ์. (2563). วัฒนธรรมและพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. พระนครศรีอยุธยา: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ชนัญญา ทองสุข. (2562). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชัยอนันต์ รีชีวะ. (2559). การศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานของบริษัทเอกชน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ณัฐพงศ์ ดิษยบุตร. (2564). การบริหารทรัพยากรบุคคลในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด. วิทยาลัยพัฒนามหานคร. มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช.

ณัฐพร ฉายประเสริฐ. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของโรงงานอุตสาหกรรม ในจังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จากhttp://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/issue14/article

/view/369 20 ตุลาคม 2564

นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรบริหารส่วน จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปัญญาพร ฐิติพงศ์. (2558). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในบริษัทก่อสร้าง : กรณีศึกษา บริษัท อินเตอร์ เอ็กซ์ เพิร์ท คอนสตรัคชั่น จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ผจญ เฉลิมสาร. (2564). คุณภาพชีวิตการทำงาน. (ออนไลน์) www.society.go.th/article_attach.

ตุลาคม 2564

พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ. (2562). ความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์กร: ความหมายทฤษฎี วิธีวิจัย การวัดและงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.

มารวย วิชาญยุทธนากูล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมระดับ 5 ดาว. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการ บริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยลัยกรุงเทพ.

มาลินี นกศิริ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทธรรมรักษ์ ออโตพาร์ท จำกัด.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

วาริณี โพธิราช. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานอุตสาหกรรมในจังหวัดพิจิตร. (2564). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2564. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร. เอกสารอัดสำเนา. ในจังหวัดพิจิตร.

สุวิมล ติรกานันท์. (2550). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เหงียน ธิ มินห์ เทือง. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรบริษัทเฮืองญาง เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อุสุมา ศักดิ์ไพศาล. (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท อินเตอร์เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Hinkle, D.E. (1998). Applied Statistics for the Behavioral Sciences. Boston: Houghton Mifflin.

Yamane, Taro. (1976). Statistics: An introductory analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-24