ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียน

ผู้แต่ง

  • ประไพ กิตติบุญถวัลย์ Boromarajonani College of Nursing Saraburi
  • จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
  • ศักดิ์มงคล เชื้อทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, เด็กวัยเรียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียน โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยเชิงพรรณนา ประชากร คือ นักเรียนอายุ 7 - 14 ปีในจังหวัดสระบุรี  สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนได้กลุ่มตัวอย่าง 397 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติพรรณนาและการหาค่าสหสัมพันธ์

ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ (M=45.55,SD =5.76) โดย ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการจัดการตนเอง และด้านการตัดสินใจเพื่อสุขภาพ อยู่ในระดับไม่ดี เด็กวัยเรียนมีความเข้าใจเรื่องการออกกำลังกายและการแก้ปัญหาเมื่อเกิดความไม่สบายใจเพียงร้อยละ 44.17
และร้อยละ 51.17 ส่วนทักษะด้านการเข้าถึงข้อมูลอยู่ในระดับดี ทักษะด้านการสื่อสารสุขภาพ และการรู้เท่าทันสื่อ อยู่ในระดับพอใช้ พฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (M =37.89, SD=5.58) แต่ค่าเฉลี่ยต่ำในเรื่องการดื่มน้ำอัดลม/เครื่องดื่มที่มีรสหวานและการออกกำลังกาย การศึกษานี้พบว่าปัจจัยเอื้อด้านครูอนามัย
และครอบครัว มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ

ข้อเสนอแนะ

1.ควรพัฒนาทักษะด้านความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการออกกำลังกาย และเรื่องการแก้ปัญหาเมื่อเกิดความไม่สบายใจแก่เด็กวัยเรียน

  1. ลดพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงในเด็กวัยเรียน

3. ส่งเสริมให้ครูอนามัย และครอบครัวพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ

References

กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สามเจริญพาณิชย์.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานสถานการณ์โรคNCDS เบาหวาน ความดันโลหิตสูง

และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง.กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซด์.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2564).สุขภาพจิตวัยรุ่นเรื่องใหญ่กว่าที่คิด.แหล่งที่มา:

https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30744 สืบค้นเมื่อ 23 ก.พ.2565.

ชนวนทอง ธนสุกาญจน์. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ.แหล่งที่มา: http://doh.hpc.go.th/data/HL/

HLO_chanuanthong.pdf 24 ม.ค. 2565.

ชิราวุธ ปุณณวิช,ศิระปรุฬห์ ทองเทพ. (2565) .ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติในนักเรียนอายุ10-14ปี. วารสารสหเวชศาสตร์. 5 (1). 26-36.

นรลักขณ์ เอื้อกิจ , ลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี. (2562). การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE MODELในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 12 (1). 38-48.

นุชจรินทร์ สุทธิวโรตมะกุล. (2561) .ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพ อิทธิพลของครอบครัวและกลุ่มเพื่อนกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคอ้วน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิสิษฐ์ ละหมิด และคณะ. (2564). ความฉลาดทางสุขภาพและอิทธิพลของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับ

พฤติกรรม การบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 7 (1).35-46.

ไพศาล วิสาโล. (2561). สุขภาวะแห่งปัญญาที่เราควรรู้จัก. แหล่งที่มา: https://www.visalo.org/book/

sukaparp.html. 24 ม.ค. 2565.

วัลลภา วงศ์ศักดิรินทร. (2560). พฤติกรรมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการมีวินัยในตนเองแก่นักเรียนโรงเรียน สาธิตในจังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal,Silpakorn University. 10(1). 1321-1339.

ศูนย์ฝึกอบรมและแพทย์ศาสตร์ศึกษา ศูนย์อนามัยที่ 5 จังหวัดราชบุรี. (2562). รูปแบบการแก้ไขปัญหาโรค

อ้วนในเด็กวัยเรียน 6-15 ปีโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย.แหล่งที่มา: https://hpc.go.th/km/training/selfstudy/child.pdf. .14 ก.พ. 2565.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากร และเคหะ. แหล่งที่มา: http://statbbi.

nso.go.th/staticreport/page/sector/th/05.aspx. 23 มี.ค. 2565.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพ

และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของเด็กวัยเรียน . แหล่งที่มา: https://hp.anamai.moph.go.th

/th/ewt-news-php-nid-1532/193576 23 ก.พ. 2565.

อุทุมพร ผึ่งผาย และคณะ. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียน จังหวัดสิงห์บุรี.วารสาร

พยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 29(1).92-103.

อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์ และคณะ. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องฉลากโภชนาการในเด็กวัยเรียน:

กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบุรี.วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 6 (2).70-82.

National Health Commission Office. (2021). Health Literacy for NCDs Prevention and

Management. Source: https://www.healthstation.in.th/action/viewvideo/4482//. retrived 15 July 2021.

Paakkari O,Torppa M ,Villberg J ,Kannas L. (2018). subjective health literacy among school-

aged children. Source:https://www.emerald.com/insight/content/doi/10.1108/HE-02-2017-0014/full/html. retrived 5 February 2018.

Sahoo K ,et al. (2015). Childhood obesity: causes and consequences. Journal of family

medicine and primary care. 4(2).187–192.

The State of the World's Children. (2021). On My Mind: Promoting, protecting and caring

for children’s mental health. Source: https://www.unicef.org/reports/state-worlds-children. retrived 15 July 2021.

World Health Organization. (2021). World Health Statistics, Monitoring Health for the

SDGs . Source: https://www.who.int/data/gho/publications/world-health-statistics. retrived 9 June 2021.

_______. (1998). Health Promotion Glossary. Source: https://www.researchgate.net/profile.

retrived 2021 July 18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-08