รูปแบบภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมทางการเมืองในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกลุ่มราษฎรชาวไทยภูเขา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • ศุภฤทธิ์ ธาราทิพย์นรา -

คำสำคัญ:

คำสำคัญ ภาวะผู้นำ การมีส่วนร่วมทางการเมือง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ราษฎรชาวไทยภูเขา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมทางการเมืองในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกลุ่มราษฎรชาวไทยภูเขา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ในช่วงระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 มีนาคม 2565 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ กลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา 6 ชนเผา ได้แก่ กะเหรี่ยง ม้ง ลาหู่ เมี่ยน ลีซู ลั๊วะ แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักและคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง คือ กลุ่มผู้นำที่เป็นทางการ จำนวน 13 คน กลุ่มผู้นำไม่เป็นทางการ จำนวน 16 คน และกลุ่มชาติพันธ์ที่ทำงานเพื่อสังคม จำนวน 10 คน  เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิควิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา มีข้อค้นพบ ดังนี้  ในด้านรูปแบบภาวะผู้นำของกลุ่มชาติพันธ์ โดยภาพรวมพบว่า 1) เพื่อเป็นตัวแทนของกลุ่มชนเผ่าของตนเอง ในการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของของชนเผ่าตนเองนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิงสำหรับชนชาติพันธุ์ชาวเขา ในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อเป็นปากเป็นเสียงให้แก่สมาชิกชนเผ่าตนเอง ย่อมเป็นแสงสว่างที่เปิดโอกาสได้เข้าไปทำหน้าที่ในฐานะผู้นำแบบเป็นทางการ สามารถเข้าไปร่วมคิด ตัดสินใจ ตั้งประเด็นคำถาม สามารถโต้แย้ง อภิปรายปัญหาและความต้องการของชนในชนเผ่าตนเองได้ 2) เพื่อการติดต่อสื่อสารและประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ด้วยลักษณะภูมินิเวศ และภูมิวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกันของชาติพันธุ์ชาวเขา การติดต่อสื่อสารเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการเชื่อมโยงระหว่างสมาชิกในชนเผ่าแต่ละชนเผ่า เมื่อหน่วยงานราชการ หน่วยงานพัฒนา หรือหน่วยงานทางการปกครองด้านต่าง ๆ ได้มีการติดต่อสื่อสารเข้ามาในพื้นที่ก็จะช่วยสามารถสื่อสารกับสมาชิกชนเผ่าของตนเองได้

ในด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกลุ่มราษฎรชาวไทยภูเขา สามารถสรุปได้ดังนี้ กล่าวคือ 1) การเข้าร่วมประชุม การร่วมประชุม ปรึกษาพูดคุย การหาข้อยุติ มักจะดำเนินการผ่านกลุ่มชนของตนเองก่อน ซึ่งจะมีการให้ความร่วมมือกันภายในชนเผ่า นอกจากนี้การเข้าร่วมประชุมในลักษณะของส่วนกลาง เช่น การประชุมระดับหมู่บ้าน การประชุมประชาคม การประชุมประจำเดือนของกลุ่ม องค์กรต่าง ๆ ผู้ที่จะเข้าร่วมประชุมจะเป็นผู้ที่ได้ถูกคัดเลือกให้เป็นผู้นำ (ตัวแทน) ชนเผ่าของตนเอง 2) การถูกเชิญชวนและการชักชวน การส่วนร่วมทางการเมืองของชาติพันธุ์ชาวเขาที่ได้เข้ามาสู่สนามการแข่งขันทางการเมืองท้องถิ่น จะเกิดจากการถูกเชิญให้เข้ามาเป็นตัวแทน (ชนเผ่า) เพื่อลงสมัครรับสมัครเลือกตั้งในตำแหน่งต่าง ๆ ที่มีจัดให้มีการเลือกตั้ง ถึงแม้ว่าผู้สมัครจะมีจำนวนสมาชิกภายในชนเผ่าน้อยแต่ก็ให้ความสนใจและความสำคัญ นอกจากนี้การถูกชักชวนให้เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองที่มีการแข่งขันกันเอง โดยการเตรียมทีมเพื่อลงรับสมัครเลือกตั้ง ผู้นำที่เป็นคนไทย (พื้นราบ) จะชักชวนให้เข้าร่วมทีมสมัครลงแข่งขันเลือกตั้ง 3) การอภิปรายและการเสนอญัตติในที่ประชุมสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การกระจายอำนาจลงสู่การปกครองท้องถิ่นได้เปิดโอกาสให้การผู้นำการเมืองท้องถิ่น(ชนชาติพันธุ์) ที่เข้าไปนั่งอยู่ในสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แสดงออกตามความคิด สามารถแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม และได้พูดปรึกษากับสมาชิกในทีมงาน ทำให้เกิดกิจกรรมทางการเมืองอย่างสมบูรณ์โดยไม่ถูกลดทอนสิทธิ์ 4) คุณลักษณะของการเป็นผู้นำชนเผ่า การอำนวยการด้านการพัฒนาจากภาครัฐที่ส่งผลมายังชนชาติพันธุ์ จำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้นำทางการเมือง เพื่อประโยชน์ของชนชาติพันธุ์ อาทิ ด้านสิทธิในการถือครองที่ดิน ด้านการลงเคราะห์ช่วยเหลือจากงานพัฒนาของภาครัฐ ตามโครงการต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องมีการสื่อสาร การเขียนโครงการพัฒนา และอื่น ๆ ผู้นำชนเผ่าแต่ละชนเผ่าจะต้องคัดเลือกผู้ที่มีคุณลักษณะในการนำที่ดี มีความพร้อมเข้ามาเป็นตัวแทนเพื่อติดต่อประสานงานกับหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ 5) วัฒนธรรมของการพัฒนา พฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของชนชาติพันธุ์ชาวเขาได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของการพัฒนาในยุคของการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น ซึ่งแต่เดิมแต่ละชนเผ่าจะใช้วัฒนธรรมของชาวเขาของเขาเอง แต่เมื่อมีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางลงสู่ท้องถิ่น ทำให้มีกิจกรรมด้านการพัฒนาท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น และทำให้ชนชาติพันธุ์ได้รับวัฒนธรรมของการพัฒนาตามไปด้วย

 

คำสำคัญ ภาวะผู้นำ การมีส่วนร่วมทางการเมือง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ราษฎรชาวไทยภูเขา

References

บรรณานุกรม

กรรณิกา ชมดี. (2524). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ : ศึกษา

เฉพาะกรณีโครงการสารภี ตำบลท่าช้าง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). คลื่นลูกที่ 5 ปราชญ์สังคม : สังคมไทยที่พึงประสงค์ใน

ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.

__________. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย. เอกสารตำราหลัก ประกอบการเรียนการ

สอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น วิชา การเมืองและ

การปกครองส่วนท้องถิ่นไทย.บริษัทเอ็กซเปอร์เน็ท กรุงเทพฯ.

________ . (2552). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. (พิมพ์ครั้งที่ 7) กรุงเทพฯ:วิญญูชน

________ . (2548). การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ

: บริษัทสำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.

โกวิทย์ พวงงามและอลงกรณ์ อรรคแสง. (2547). การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง.

กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.

ขจัดภัย บุรุษพัฒน์. (2518). ชาวเขา. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.

งามพิศ สัตย์สงวน. (2545ข). สถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในกรุงเทพมหานคร :

กรณีศึกษาครอบครัวญวน.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และคนอื่นๆ. (2548). สังคมวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร:

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2516). การระดมประชาชนเพื่อพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: สามเสนการพิมพ์.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2540). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมี

ส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนประถมศึกษาในเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานคร.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โชคชัย สินศุภรัตน์. (2543). วัฒนธรรมทางการเมืองของชาวเขาเผ่าม้ง ในหมู่บ้านมณีพฤกษ์

จังหวัดน่าน. ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการเมืองการปกครอง,

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณรงค์ เส็งประชา. (2541). มนุษย์กับสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ดวงพร พยัตตพงษ์. (2553). ความเป็นสตรีกับการเป็นผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น กรณีศึกษา

นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเกาะคา จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าแบบอิสระ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดำรงศักดิ์ แก้วเพ็ง. (2556). ชุมชน. สงขลา : นำศิลป์โฆษณา.

ทัศนีย์ วงศ์ดาว. (2553)0 ปัจจัยจูงใจต่อการเป็นผู้นำทางการเมืองของสตรีในพื้นที่อำเภอแม่ฟ้า

หลวงจังหวัดเชียงราย. การค้นคว้าแบบอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ธัมฑรัตม์ ปัญโญแก้ว. (2556). ปัจจัยและกระบวนการที่เกี่ยวกับการยอมรับให้สตรีเป็นผู้นำ

การเมืองท้องถิ่น. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ บัณฑิต

วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2527). กลวิธี แนวทางวิธีการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุขมหาวิทยาลัยมหิดล.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2555). กระแสโลกาภิวัตน์กับสภาพปัญหาสังคมไทย. ใน เอกสารการสอน

ชุดวิชาไทยกับสังคมโลก หน่วยที่ 8-15. พิมพ์ครั้งที่ 15, นนทบุรี :

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปราชญา กล้าผจัญ. (2545). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์

มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประทาน คงฤทธิ์ศึกษาการ. (2524). การปกครองเมืองพัทยา. กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและการ

พิมพ์.

พวงผกา ประเสริฐศิลป์. (2542). ประเพณีกับการเปลี่ยนแปลงตามกระแสวัฒนธรรมโลก.

กรุงเทพฯ:เสมาธรรม.

ไพรัตน์ เตชะรินทร์. (2527). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การ

พัฒนาปัจจุบัน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

ยศ สันตสมบัติ. (2542). ความหลากหลายทางชีวิภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนา

อย่างยั่งยืน. เชียงใหม่ : นนทบุรีการพิมพ์.

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2534). หลักการพัฒนาชุมชนและหลักการพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร:

ไทยอนุเคราะห์.

รัชนีกร เศรษโฐ. (2528). สังคมวิทยาชนบท. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2524). พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.

กรุงเทพฯ: บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด.

__________. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

__________. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2555). โลกาภิวัตน์กับท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.

วรพันธ์ อินทร์ปัญญา. (2551). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของชาวเขาเผ่า

กระเหรี่ยงในพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

พ.ศ. 2540. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง, สาขารัฐศาสตร์,

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์. (2554). ทฤษฎีการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

วิทยา ทิพย์ทอง. (2545). สภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา

สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏสกลนคร.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2532). หลักการพัฒนาชุมชน : การพัฒนาชุมชนประยุกต์. กรุงเทพฯ : โอ

เดียนสโตร์.

ศุภฤทธิ์ ธาราทิพย์นรา.(2551) รูปแบบภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน.

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพฯ : โอเดียนส

โตร์.

สนิท สมัครการ. (2525). การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาการของสังคม.

กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

__________.(2545). การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 5).

กรุงเทพมหานครองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2536). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม: แนวทางศึกษา

วิเคราะห์และวางแผน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

__________. (2546). สังคมวิทยาชุมชน : หลักการศึกษาวิเคราะห์และปฏิบัติงานชุมชน.

ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2547). ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพฯ :

สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ

และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2550-2554). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2545). หลักทฤษฎีการมีสวนรวมในองคการ. กรุงเพทฯ : ชวนพิมพ์

สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. (2538). เอกสารการสอนชุดวิชามนุษย์กับสังคม หน่วยที่ 1-

ปรับปรุงครั้งที่ 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. (2541). เอกสารชุดฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารงาน

องค์การ บริหารส่วนตำบล: สำหรับพนักงานส่วนตำบล/โครงการร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชกับกรมการปกครอง. กรุงเทพฯ.

สุรศักดิ์ บุญเทียน. (2562). การพัฒนาคนบนฐานอัตลักษณ์วิถีวัฒนธรรมม้ง: กรณีศึกษา บ้านเจดีย์โคะ

ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏแพงเพชร.

สุพจน์ แสงเงิน และคณะ. (2550). วิถีไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สุพัตรา สุภาพ. (2534). สังคมวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

สุพิศวง ธรรมพันธา. (2543). มนุษย์กับสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : ภูมิไทย.

สุริชัย หวันแก้ว. (2549). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในสังคมและวัฒนธรรม.

กรุงเทพ ฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

สุไรยา วานิ. (2556). การอยู่ร่วมกันของชุมชนในสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษา ตำบล

ทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี.วารสารการเมืองการปกครอง.

ปีที่ 4 ฉบับที่ 1.

แสวง รัตนมงคลมาศ. (2538). การระดมมวลชนและการมีส่วนร่วมของมวลชน.

กรุงเทพมหานคร: คณะพัฒนาสังคม สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

อมรา พงศาพิชญ์. (2541). วัฒนธรรมศาสนาและชาติพันธุ์: วิเคราะห์สังคมไทยในแนว

มานุษยวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

__________ (2545). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (วิธีวิทยาและบทบาทในประชา

สังคม). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2551). “พหุวัฒนธรรมในบริบทของการการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและ

วัฒนธรรม”ในบทความแนวคิด ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม. เชียงใหม่: ศูนย์ภูมิภาคด้าน

สังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อุทัย หิรัญโต. (2522). หลักสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

__________. (2523). การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

________ . (2526). คัมภีร์นักปกครอง. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

เอกรินทร์ สังข์ทอง. (2555). ภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้อำนวยการโรงเรียนของรัฐในสาม

จังหวัด ชายแดนภาคใต้. ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

Arnstein, S.R. (1969). Ladder of participation. Journal of America Institute of

Planners, 35, 216-224.

Anthony, W.P. (1978). Participative Management. Massachusetts: Addison-

Wesley.

Berkley, G.E. (1975). The craft of public adminisstration. Boston : Allyn and

Bacon,Inc.

Clark, J.J. (1957). Outline of Local Government of The United Kingdom.

London: Sir Issac Pitman and Son, Ltd.

Daughah, M. (1970). Some perspective in the Phenomenon of Participation.

Adult education Journal, 20(2), 88-89.

Gordon, J.R. (1987). A diagnostic approach to organizational behavior.

Boston: Allyn and Bacon.

Gustavo, W.C. (1992). Community participation: Preceedings. New

York: McGraw – Hill.

Hungtington, S.P. and Nelson, J. (1975). No easy choice: Political

participation in developing contries. New York: Mc Grew – Hill.

Holloway, W.V. (1951). State and Local Government in the United States.

New York: McGraw-Hill.

Keith, D. (1981). Human Behavior at Work: Organizational behavior. New York :

McGraw – Hill Book.

Moore, E.W. (1968). Social Change. New York : The Macmillan Company.

Mongtagu, H.G. (1984). Comparative Local Government. Great Britain:

William Berndon and Son Ltd.

Nisbet, R. (1969). Social Change and History : Aspect of the Western Theory

of Development. London : Oxford University Press.

Ogburn F. William. (1964). Sociology. Boston : Houghton Company.

Okley, P and Marsden, D. (1987). Approaches to participation in rural

development. Oxford: IBH Plubliching.

Reeder, W. (1973). Beliefs, disbelief’s and social action department of rural

sociology bulletin. New York: University of Missouri.

Roger, E.M. (ed). (1976). Communication and Development : Critical Perspectives.

Sage Publications.

Smelser, J.N. (1966). Modernization : In Myron Wiener. New York : Basic Book.

Swanberg, R. (1996). Management and Leadership for Nurse Managers. Boston:

Jones and Bartlett.

United Nation. (1981). Development of international economic and social affairs:

Popular participation as a strategy for promoting community level action and national development report of the meeting or the adhoc group of experts held at UN. Midquarter from May 22-26, New York: United Nation.

Weber, M. (1946). The Theory of Social and Economic Organization. London :

Oxford University Press.

Whang, I.J. (1981). Management of rural Change in Korea: The Saemaul

Undong. Seoul: Seoul National University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31