รูปแบบนวัตกรรมชุมชนเพื่อการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากกรณีศึกษา การสร้างอาชีพการเพาะเห็ด ภายใต้สถานการณ์โควิด - 19ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • ปรีชาภรณ์ ขันบุรี -
  • นพคุณ ชูทัน

คำสำคัญ:

นวัตกรรมชุมชน, การพัฒนานวัตกรรมชุมชน, ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยคุณภาพ ประเภทการวิจัยแบบกรณีศึกษา โดยใช้การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) จากการการสนทนากลุ่ม การสังเกต และการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า
1) ปัญหาและและความต้องการพัฒนานวัตกรรมชุมชน ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า ในสถานการณ์โควิดระบาด คนในชุมชนไม่สามารถอาชีพนอกพื้นที่ได้ และมีสนใจทำอาชีพเพาะเห็ดเพื่อสร้างรายได้เสริมจากการประกอบอาชีพหลัก 2) พัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน พบว่า นวัตกรรมชุมชนที่ต้องการพัฒนา จำนวน 1 รายการคือ การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก โดยชนิดของเห็ดที่เป็นที่ต้องการของตลาดในตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร คือ เห็ดขอนดำ โดยช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงคือ ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม เนื่องจากไม่ตรงกับช่วงการทำเกษตรกรรมของคนในชุมชน โดยการออกแบบหลักสูตรและพัฒนานวัตกรรมชุมชนในเรื่องสิ่งประดิษฐ์ ประกอบด้วย เอกสารประกอบความรู้การเพาะเห็ดขอนดำ วัสดุและอุปกรณ์ และรวบรวมข้อมูลเพื่อเป็นสื่อวีดีทัศน์เพื่อนำไปสู่การจำหน่ายและเผยแพร่ต่อไป โดยหาประสิทธิผลของนวัตกรรมชุมชนเพื่อการยกระดับเศรษฐกิจของคนในชุมชนตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรที่พัฒนาขึ้น 1) เปรียบเทียบรายได้จากการขายเห็ดกับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ พบว่า มีรายได้เฉลี่ยต่อวันโดยประมาณ 300 – 500 บาท คิดเป็นร้อยละ 100 รายได้รวมต่อเดือนเฉลี่ย 7,424 คิดเป็นร้อยละ 49.4 ของรายได้ค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือน โดยน้ำหนักของเห็ดขอนดำที่เก็บต่อวันเฉลี่ยโดยรวมประมาณ 3-5 กิโลกรัมต่อวัน โดยจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 100 บาท ส่งผลให้สามารถคืนทุนได้ในระยะเวลา 3 เดือน ต่อการเพาะเห็ดขอนดำ 1 ครั้ง 3) เปรียบเทียบต้นทุนก้อนเชื้อเห็ดขอนดำที่ผลิตด้วยตนเองกับราคาขายก้อนเชื้อเห็ดสำเร็จรูปจากแหล่งผลิตในพื้นที่ พบว่า ราคาก้อนเชื้อเห็ดสำเร็จ 10 บาท ก้อนเชื้อเห็ดที่ผลิตด้วยตนเอง 6 บาท สามารถลดต้นทุนการทำก้อนเชื้อเห็ด คิดเป็นร้อยละ 60

References

เกสสิณี ตรีพงศ์พันธ. (2564). การบูรณาการวิศวกรสังคมสำหรับการท่องเที่ยวในชนบทของไทยสู่ความยั่งยืน. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 4 (3). 16 - 32

นพพร จันทรนำชู. (2561). รูปแบบการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและความ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชุมชนที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ). 11 (2). 3217- 3232

หทัยชนก คะตะสมบูรณ. (2563). การพัฒนาศักยภาพของชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8 (2). 473-488

จันทร์ศรี สิมสินธุ์, ภูษิต บุญทองเถิง, และทัศนีย์ นาคุณทรง. นวัตกรรมชุมชนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต.

ไฟศอล มาหะมะ, พงคเทพ สุธีรวุฒิ, และซอฟยะห นิมะ. การสร้างรูปแบบนวัตกรรมชุมชนของโครงการรวมสร้างชุมชนน่าอยู่ กรณีศึกษาบ้านศรีท่าน้ำ ตำบลธารโต อำเภอธารโต จัวหวัดยะลา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอุตรดิตถ์. 14 (1). 39-51

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปะศาสตร์ปริทัศน์. 13 (25). 103-117

ญาณิศา เผื่อนเพาะ และประสพชัย พสุนนท์. (2564). นวัตกรรมชุมชนเชื่อมโยงเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 8 (2). 32-44

เดชา ทำดี, ธนารักษ์ สุวรรประพิศ, วิลาวัณย์ เสนารัตน์. 2556. การถอดบทเรียน : การจัดการความรู้และการสร้างองค์ ความรู้การจัดการสุขภาวะชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง.พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 40 (4) น. 100-113

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-12