การอนุรักษ์พันธุ์พืชเพื่อความมั่นคงทางอาหารของชุมชนกะเหรี่ยงโปว์ ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • พระซาแหม่ ชยเมธี (ชยเมธาวงศ์)

คำสำคัญ:

กะเหรี่ยงโปว์, การอนุรักษ์พันธุ์พืช, ความมั่นคงทางอาหาร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของชาวกะเหรี่ยงโปว์ ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อศึกษากระบวนการอนุรักษ์พันธุ์พืช สภาพปัญหาอุปสรรค ในการอนุรักษ์พันธุ์พืช โดยการใช้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนกะเหรี่ยงโปว์ ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี เป็นงานวิจัยแบบเชิงคุณภาพ(Qualitative Research)  แบบลงภาคสนาม โดยการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึก (Inter view)  และการทำกลุ่มสนทนา (Focus Group)  จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม จำนวน 27 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า

           1) ชาวกะเหรี่ยงโปว์ เรียกตัวเองว่า “โผล่ว” มีภาษาพูดภาษาเขียนและประเพณีวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง ประเพณีวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับความเชื่อ ชีวิต ความเป็นอยู่ ป่าไม้ และธรรมชาติ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต คือไร่หมุนเวียน นับถือพุทธศาสนาคริสต์ศาสนา นับถือฤๅษี และไหว้บรรพบุรุษ มีการสืบทอดและปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการดำรงชีวิตที่เรียบง่าย พึ่งพาอาศัยป่าและธรรมชาติ รักสันโดษและความสงบ

          2) ชาวกะเหรี่ยงโปว์ทำไร่หมุนเวียนในการดำรงชีพ ไร่หมุนเวียนเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดกระบวนการอนุรักษ์พันธุ์พืช ใช้วิธีตามธรรมชาติในการเพราะปลูก ไม่ใช้สารเคมีใดๆ ใช้เศษผ้า ลูกน้ำเต้าแห้ง กระบอกไม้ไผ่ เป็นเครื่องบรรจุเมล็ดพันธุ์พืช และตากไว้บนหิ้งไฟในการเก็บรักษา ชุมชนใช้หลักธรรม ศีล 5 และสาราณียธรรม เป็นตัวเชื่อมในการอยู่ร่วมกัน ทำให้ชุมชนเกิดความมั่นคงทางอาหาร และเกิดการอนุรักษ์พันธุ์พืชอย่างยั่งยืน

References

ภาวนีย์ บุญวรรณ “การศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อพระพุทธศาสนาและฤาษีของชาวกะเหรี่ยงทุ่งใหญ่นเรศวร กรณีศึกษา หมู่บ้านสะเน่พ่อง ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2544.

บัณทิต ไกรวิตร “การเผชิญกับภาพแทนของกะเหรี่ยงโผล่ว ในเขตรักษาพันธุ์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร” ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสหวิทยาการ. วิทยาลัยสหวิทยาการ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.

พระมหาณัฐ สติเวปุลฺโล “การศึกษาวิเคราะห์สันติวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงโปว์: กรณีศึกษา หมู่บ้านสะเน่พ่อง ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561.

ชนะพันธ์ รวีโชติภคนันท์ “วิถีชาวกะเหรี่ยง อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี” วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2554.

นพรัตน์ ไชยชนะ และจักษุมาลย์ วงษ์ท้าว. “ความมั่นคงทางอาหารในมิติวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปร์ บ้านทิพุเย ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี”. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561): 62.

ประเสริฐ ตระการศุภกร “การสืบทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการทำไร่หมุนเวียนของชนเผ่ากะเหรี่ยง”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณบิต สาขาการศึกษานอกระบบ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540

สัญชัย เจริญหลาย.“ระบบการผลิตของครัวเรือนในชุมชนกะเหรี่ยงที่สัมพันธ์กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2542.

วินัย สมประสงค์ และคณะ (2556), “บทบาทของกองทุนคุ้มครองพันธ์ุพืชกับการอนุรักษ์พันธ์ุพืช ในประเทศไทย”, วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม) หน้า 124.

อภิญญา จงพัฒนากร (2560), “รูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ข้าวไร่ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง”, วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม) หน้า 2114 - 2115.

PHROMWIHARN BUMROONGTHIN (Ao Im Aim), “ศูนย์เมล็ดพันธุ์พันพรรณ” จากเมล็ดพันธุ์ เล็กๆ สู่อนาคตของความมั่นคงทางอาหาร, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https:// imaim. wordpress.com/2011/11/24/ศูนย์เมล็ดพันธุ์พันพร สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-01