การตัดสินใจทำบุญไหว้พระของพุทธศาสนิกชนที่วัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พระกฤษฎา หากัน
  • ชาญเดช เจริญวิริยะกุล
  • สโรชินี ศิริวัฒนา
  • ธนาวิชญ์ จินดาประดิษฐ์
  • พรชัย ดีไพศาลสกุล

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, ทำบุญไหว้พระ, พุทธศาสนิกชน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำบุญไหว้พระของพุทธศาสนิกชนที่วัดมังกร     กมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) และ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของพุทธศาสนิกชนกับการตัดสินใจทำบุญ         ไหว้พระที่วัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ พุทธศาสนิกชนในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยมาทำบุญที่วัดมังกรกมลาวาส จำนวน 384 คน โดยใช้ตารางของKrejcie &  Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย             ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่เคยเดินทางมาทำบุญไหว้พระที่วัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) กรุงเทพมหานคร ก่อนหน้านี้ 2 ครั้ง             เพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เดินทางมาทำบุญไหว้พระกับครอบครัว/ญาติ/คู่รัก โดยวางแผนการเดินทางด้วยตนเอง ใช้ระยะเวลาในการทำบุญไหว้พระครั้งนี้ 1 - 2 ชั่วโมง มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางทำบุญไหว้พระประมาณ 1,001 – 1,500 บาท และมีค่าใช้จ่ายในการทำบุญไหว้พระ 1,501 – 2,000 บาท และ 2) การตัดสินใจทำบุญไหว้พระของพุทธศาสนิกชนที่วัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความนิยมในชื่อเสียงของวัด มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านสภาพแวดล้อมของวัด และด้านความเชื่อ ตามลำดับ และเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจทำบุญไหว้พระของพุทธศาสนิกชนที่วัดมังกรกมลาวาส  ไม่แตกต่างกัน แต่รายได้เฉลี่ยที่แตกต่างกันการตัดสินใจทำบุญไหว้พระแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ       ที่ระดับ 0.05 ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ วัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) และวัดอื่น ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมกิจกรรมการทำบุญไหว้พระให้สอดคล้องกับความสนใจของพุทธศาสนิกชน และกำหนดแนวทางการพัฒนาด้านการบริหารจัดการวัดในด้านต่าง ๆ

References

จันทิมา พูลทรัพย์ และวลัยพร รัตนเศรษฐ. (2559). ปัจจัยการตัดสินใจในการทำบุญของ

พุทธศาสนิกชน กรณีศึกษาวัดจำปาเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษา

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 4(3), 282 – 297.

ชุดา จิตพิทักษ์. (2555). พฤติกรรมศาสตร์เบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

บุญรัตน์ อุตส่าห์. (2561). พฤติกรรมการทำบุญตักบาตรของวัยรุ่นในเขตเทศบาลจังหวัดบุรีรัมย์.

วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปฐมวรรณ ขวัญแก้ว, จริยา คำธร, พรรณวดี ขำจริง และลลิดา ภคเมธาวี. (2560). แรงจูงใจใน

การ เข้าวัดของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารวิชาการ

วิทยาลัยสันติพล. 3(2), 246 – 253.

พระมหาสมชัย ปริมุตฺโต, พระครูสิริสุตาภรณ์ และพระมหาณัฐกิตติ อนารโท. (2562).

ศึกษาวิเคราะห์แนวทางส่งเสริมการทำบุญของชาวพุทธตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอกันทรลักษ์

จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 7(เพิ่มเติม), 313 – 325.

วัดมังกรกมลาวาส. (2563). ข้อมูลทั่วไปของวัดมังกรกมลาวาส. สืบค้นเมื่อ มกราคม 20, 2565.

จาก https://www.youtube.com/channel/UChIkpGqsAXiavSjINiG0ZFg?

view_as=subscriber

วิชัย โถสุวรรณจินดา. (2558). ความลับองค์การ: พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2).

กรุงเทพฯ: ดีไลท์.

สมภพ มหาคีตะ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท าบุญของพุทธศาสนิกชนในเขตเทศบาลเมือง

ชลบุรี อำเภอเมืองชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. ชลบุรี. มหาวิทยาลัย

บูรพา.

สมศักดิ์ บุญปู่. (2561). รูปแบบการพัฒนาทักษะของครูในโรงเรียนการ ศึกษาสงเคราะห์ของวัด

ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 1. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 7(5),

– 1305.

สุภกฤษ บุตรจันทร์. (2559). พฤติกรรมการทำบุญใส่บาตรของพุทธศาสนิกชนชาวตำบล

บางลูกเสือ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร

มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อัษฎายุทธ สุนทรศารทูล. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเช้าใช้วงจรระบบดิจิตอลของ

บริษัททศท. คอรปอเรชั่นจำกัด (มหาชน) ของลูกค้าประเภทธนาคาร. วิทยานิพนธ์

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.

Educational and Psychological Measurement. 30(3), pp. 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-09