การบริหารจัดการที่มีผลต่อความสำเร็จของสวนเกษตร วัดหมื่นพุทธเมตตาคุณาราม จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, ความสำเร็จ, สวนเกษตรบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จและการบริหารจัดการสวนเกษตร วัดหมื่นพุทธเมตตาคุณาราม และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จสวนเกษตร วัดหมื่นพุทธเมตตาคุณาราม รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ พระภิกษุ และสามเณร วัดหมื่นพุทธเมตตาคุณาราม จำนวน 120 รูป ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการสวนเกษตรของวัดหมื่นพุทธเมตตาคุณารามในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยการประสานงานมีค่าเฉลี่ย สูงที่สุด รองลงมาคือ การวางแผน การกำหนดโครงสร้าง การรายงานผล การบริหารงานบุคคล การจัดทำงบประมาณ และการอำนวยการ ตามลำดับ และความสำเร็จของสวนเกษตรของวัดหมื่นพุทธเมตตาคุณาราม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยสวนเกษตรวัดหมื่นพุทธเมตตาคุณารามสามารถสร้างความร่วมมือระหว่างวัดและชุมชนได้มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ สวนเกษตรวัดหมื่นพุทธเมตตาคุณารามสามารถสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนได้ และสวนเกษตรวัดหมื่นพุทธเมตตาคุณารามสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสวนเกษตรวัดหมื่นพุทธเมตตาคุณารามสามารถดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ตามลำดับ 2) ปัจจัยการบริหารจัดการด้านการวางแผน การบริหารงานบุคคล การอำนวยการ การประสานงาน การรายงานผล และการ จัดทำงบประมาณ มีผลต่อความสำเร็จของสวนเกษตร วัดหมื่นพุทธเมตตาคุณาราม ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ วัดหมื่นพุทธเมตตาคุณารามได้แนวทางความสำเร็จของสวนเกษตร และนำไปสู่การกำหนดเป็นแผนกลยุทธ์ในการดำเนินงานสวนเกษตร และแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
References
กนกวรรณ คล้ายเพ็ง และศดานนท์ วัตตธรรม. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. 21(1), 19-30.
จอมภัค คลังระหัด, พณณกร นคร, และกัญภัส ภรรุ่งเรือง. (2560). ปัจจัยความสำเร็จสวนเกษตรของคนเมือง. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารกิจการสาธารณะ ครั้งที่ 4 (The 4th National Conference on Public Affairs Management) “การบริหารกิจการสาธารณะภายใต้ประเทศไทย 4.0. 811-826.
ดิเรก ฤกษ์หร่าย. (2552). ทฤษฎีและแนวทางการพัฒนาสังคม. ในเอกสารการสอนชุดวิชาคหกรรมศาสตร์กับการพัฒนาชุมชน. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นิภาภรณ์ จงวุฒิเวศย์, รังสรรค์ สิงหเลิศ และสมสงวน ปัสสาโก. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจชุมชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 4(2), 103-111.
วรพจน์ บุษราคัมวดี. (2558). การพัฒนาองค์การ. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
วิทยากร มณีเนตร. (2555). การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Story Telling เรื่อง“เทคนิคและเครื่องมือการประสานงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย”. กรุงเทพมหนคร: สำนักงานรัฐมนตรี.
สมจิต โยธะคง และเฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ.(2553). รูปแบบการส่งเสริมการเกษตรใน เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการส่งเสริมการเกษตร (หน่วยที่7). นนทบุรี: สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานสถิติจังหวัดเชียงราย. (2563). ข้อมูลประชากร. สืบค้นเมื่อ มกราคม 20, 2565 จากhttp://www.nso.go.th/sites/2014/nsopublic
เอื้อมพร บัวสรวง. (2551). รูปแบบภาวะผู้นำและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของพนักงานอัยการในสำนักงานอัยการเขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Gulick, Luther, Lindon Urwick. (1973). Paper on the Science of Administration. Clifton: Augustus M. Kelley.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.