พุทธจิตวิทยาแห่งมหาวิชชาลัยการส่งเสริมเศรษฐกิจแนวพุทธและจิตพอเพียง

ผู้แต่ง

  • ตฏิลา จำปาวัลย์
  • สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  • วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา

คำสำคัญ:

รูปแบบ, พุทธจิตวิทยา, เศรษฐกิจแนวพุทธ, จิตพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบและองค์ความรู้ของรูปแบบพุทธจิตวิทยาแห่งมหาวิชชาลัยการส่งเสริมเศรษฐกิจแนวพุทธและจิตพอเพียง และ 2) เพื่อนำเสนอรูปแบบพุทธจิตวิทยาแห่งมหาวิชชาลัยการส่งเสริมเศรษฐกิจแนวพุทธและจิตพอเพียง โดยระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาเอกสาร การศึกษาภาคสนามถอดบทเรียนจากการเรียนรู้การปฏิบัติที่ดีของมหาวิชชาลัยต้นแบบ 2 กรณีศึกษา การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ

ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบพุทธจิตวิทยาแห่งมหาวิชชาลัยการส่งเสริมเศรษฐกิจแนวพุทธและจิตพอเพียง ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปราชญ์ภูมิปัญญา ครู นักบวช 2) หลักสูตร กิจกรรมฐานการเรียนรู้ 3) วิธีการ กระบวนการเรียน 4) เงื่อนเวลา 5) เครื่องมือประกอบการเรียนรู้และสื่อ 6) อาคาร สถานที่ และสิ่งแวดล้อม 7) กลุ่มเครือข่าย ภาคีเครือข่าย และ 8) การบริหารจัดการ และองค์ความรู้ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ 2) สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ 3) สังคม วัฒนธรรม ประเพณี ประวัติศาสตร์ และ 4) จิตใจ จิตวิญญาณ

  1. รูปแบบพุทธจิตวิทยาแห่งมหาวิชชาลัยการส่งเสริมเศรษฐกิจแนวพุทธและจิตพอเพียง เป็นรูปแบบการส่งเสริมพัฒนามนุษย์ด้วยกระบวนการศึกษาตามหลักไตรสิกขา โดยมี 8 องค์ประกอบ และองค์ความรู้ 4 ด้าน เป็นปัจจัยภายนอกตัวบุคคล คือ ปรโตโฆสะและกัลยาณมิตร ซึ่งเป็นปัจจัยนำเข้าส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงปัจจัยภายในตัวบุคคล คือ วิธีคิดหรือโยนิโสมนสิการ ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาปัญญาและสมาธิเกิดคุณลักษณะจิตใจที่เป็นความต้องการแบบฉันทะหรือจิตพอเพียง ส่งเสริมศีลเพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจแนวพุทธ โดยผลของรูปแบบ คือ ผลผลิต ทุน 4 ประเภท ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนสิ่งแวดล้อม และทุนทางกายภาพ และผลลัพธ์ ได้แก่ บุคคลเกิดความสุขของคฤหัสถ์ 4 และความสุขจากการให้ และเกิดผลในที่สุด คือสันติสุข

References

กริช ภัทรภาคิน และณัฐวัฒน์ ฐิตวัฒนา. (2561). การศึกษารวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นและแนวทางการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดสมุทรปราการ. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

นราเขต ยิ้มสุข และอุไรวรรณ รุ่งไหรัญ. (2560). การเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภค แบบพอเพียงของแรงงานต่างเจนเนอเรชั่นในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร. วารสาร HR Intelligence. 12(2). 9-14.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2554). การทรงงานพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544).

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ศาสตร์กษัตริย์. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต). (2559). เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

พิพัฒน์ ยอดพฤติการ. (2549). การใช้การสร้างตัวชี้วัดเพื่อวิเคราะห์เศรษฐกิจพอเพียงโดยเทียบกับพุทธเศรษฐศาสตร์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเวศ วะสี. (2530). การสร้างสรรค์ภูมิปัญญไทยเพื่อการพัฒนา. ชุมชนพัฒนา. 1(5). 40-45 และ 75.

ประเวศ วะสี. (2559). มหาวิชชาลัยตำบล พลังพระมหาชนก. แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th

/content/810781 สืบค้นเมื่อ 1 ธ.ค. 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-25