รูปแบบการบริหารจัดการหนี้สินส่วนบุคคลในสังคมไทยยุค 4.0 เชิงพุทธบูรณาการ

ผู้แต่ง

  • ภักดี เมฆจำเริญ -

คำสำคัญ:

การเงินส่วนบุคคล, หนี้สินส่วนบุคคล, พุทธบูรณาการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ “รูปแบบการบริหารจัดการหนี้สินส่วนบุคคลในสังคมไทยยุค 4.0 เชิงพุทธบูรณาการ” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักการ แนวคิด การบริหารจัดการหนี้สินส่วนบุคคลในสังคมไทยยุค 4.0  2) ศึกษาหลักพุทธธรรมที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการหนี้สินส่วนบุคคล และ 3) เสนอรูปแบบการบริหารจัดการหนี้สินส่วนบุคคลในสังคมไทยยุค 4.0 เชิงพุทธบูรณาการ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ 12 รูป/คน ตลอดจนศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า หลักการ แนวคิดในบริหารจัดการหนี้สิน 3 ระยะ คือ 1) ก่อนการเกิดหนี้สิน ต้องระมัดระวังค่าใช้จ่าย, เก็บเงินออมก่อนใช้จ่าย, ไม่หลงไปกับสิ่งจูงใจ 2) กำลังเป็นหนี้สิน ต้องระวังเรื่องการใช้จ่าย, รักษาสภาพคล่อง, ไม่ก่อหนี้เพิ่ม 3) เกิดหนี้สินและหนี้สินเป็นปัญหาแล้ว ต้องยอมรับความจริง, รู้จักสถานะทางการเงินของตน, ไม่ก่อหนี้ใหม่, ตั้งเป้าหมายแก้ไขหนี้สิน, ทำรายการหนี้สิน, เรียงลำดับวางแผนชำระหนี้และทำตามแผน

หลักพุทธธรรมที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการหนี้สินส่วนบุคคล ได้แก่ โภควิภาค, ความสันโดษและทิฏฐธัมมิกัตถะ องค์ความรู้จากการวิจัย คือ โมเดล “P2R เพื่อการบริหารจัดการหนี้สินส่วนบุคคลอย่างรอบด้าน” ทั้งใน 1. เชิงรุก: มีเงินออมด้วยโภควิภาค , มีความมั่งคั่งด้วยทิฏฐธัมมิกัตถะ, มีความพอเพียงด้วยสันโดษและสมชีวิตา 2. เชิงป้องกัน: มีสภาพคล่องด้วยโภควิภาค, มีความพอเพียงด้วยสันโดษและสมชีวิตา และ 3. เชิงแก้ไข: ด้วยหลัก 3S คือ Survive แก้ปัญหาด้วยอริยสัจ, Sufficient ด้วยสันโดษและสมชีวิตา, Sustain มีความมั่งคั่งด้วยทิฏฐธัมมิกัตถะ โดยมีสติสัมปชัญญะเป็นตัวกำกับ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2556). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ขวัญชนก วุฒิกุล. (2562). แยกหนี้ครัวเรือนตามอาชีพ ใครรุ่ง-ใครร่วง.

แหล่งที่มา: https://businesstoday.co/personal-finance/06/01/2020/หนี้ครัวเรือนไทย-อาชีพ/ สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2563.

สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). “แนวนโยบายการให้สินเชื่อรายย่อยอย่างเหมาะสม เพื่อดูแลปัญหาหนี้เกินตัวของภาคครัวเรือน”. Consultation Paper สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย. (สิงหาคม 2562). 2.

โสมรัศมิ์ จันทรัตน์, กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ, อัจจนา ลํ่าซํา และ ภูมิใจ ตั้งสวัสดิรัตน. (2560). “มุมมองใหม่หนี้ครัวเรือนไทยผ่าน Big Data ของเครดิตบูโร”. aBRIDGEd สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. 10 (2017). 1-9.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ (Buddhist Economics). พิมพ์ครั้งที่ 15. นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน.

นิกร ยาอินตา. (2560). การจัดการหนี้สินทางพระพุทธศาสนา. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์. 1(1). 55-63.

สุพิชฌาย์ พรพิชณรงค์, พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, นิช์ชกรณ์ ตันติวณิชชานนท์ และ ประพันธ์ ศุภษร. (2559). รูปแบบการจัดการหนี้เชิงพุทธบูรณาการ: ศึกษากรณีพนักงานบริษัทในนิคมอุตสาหกรรม. วารสารเซนต์จอห์น. 19 (24). 42.

สายปวีร์ เพียเขมร, พระโสภณพัฒนบัณฑิต, พระครูสุธีคัมภีรญาณ, และพระมหาสำรอง สญฺญโต. (2563). แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. Journal of Modern Learning Development. 5(3). 60-61.

สัมภาษณ์ คุณจักรพงษ์ เมษพันธุ์. Money Coach. วันที่ 15 ธันวาคม 2564.

สัมภาษณ์ พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร. รศ.ดร., คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 6 ตุลาคม 2564.

สัมภาษณ์ พระธรรมวัชรบัณฑิต (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ). ศ.ดร., อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 25 ตุลาคม 2564.

สัมภาษณ์ พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ (พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส). ศ.ดร., ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 4 พฤศจิกายน 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31