การเข้ามอบตัวในยุคโควิดกับสิทธิที่จะได้รับในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

ผู้แต่ง

  • ทรณ์ สิทธิศักดิ์ -

คำสำคัญ:

หลักประกันสิทธิ, การคุ้มครองสิทธิ, ผู้ถูกจับ, การจับ, ผู้ต้องหา

บทคัดย่อ

การสร้างหลักประกันสิทธิของบุคคลในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทั้งในภาวะปกติหรือในห้วงแห่งการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่รัฐต้องสร้างหลักประกันให้กับทุกคนว่าเมื่อได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาไม่ว่าในฐานะใดจะยังคงมีหลักประกันในสิทธิต่างๆที่เป็นธรรมโดยจะได้รับความคุ้มครองสิทธิของบุคคลทุกคนทั้งตามหลักสากลและภายใต้มาตรการตามกฎหมายที่เป็นธรรม เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ทุกคนเมื่อเกิดมาย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิตามธรรมชาติที่จะมีสิทธิในชีวิต เสรีภาพในร่างกายและความเสมอภาคที่ไม่มีใครจะสามารถพรากไปได้
แต่อย่างไรก็ตามรัฐเองมีหน้าที่โดยตรงในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในบ้านเมืองเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นกลไกของรัฐมีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาดำเนินการที่อาจล่วงล้ำสิทธิของบุคคลได้ในระหว่างดำเนินการเช่น การจับ การค้น การควบคุมตัวในระหว่างการดำเนินคดี ซึ่งรัฐต้องสร้างหลักประกันสิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทั้งสิทธิในฐานะพลเมืองทั่วไป เช่น สิทธิการได้รับการรักษาพยาบาลและสิทธิต่างๆในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จะเห็นได้ว่าไม่ว่าในช่วงปกติหรือแม้กระทั้งมีการระบาดของโรคอุบัติใหม่ การกระทำความผิดกฎหมายก็ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ดังนั้นการใช้อำนาจของรัฐนอกจากจะต้องมีมาตรการคุ้มครองสิทธิปกติที่เคยถือปฏิบัติมารัฐจะต้องมีหลักประกันพื้นฐานในด้านอื่นๆแก่ประชาชนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาตั้งแต่ชั้นสอบสวน เช่นบุคคลที่เข้ามอบตัวต่อรัฐเมื่อมีการกระทำผิดเกิดขึ้นโดยในบางกรณียังไม่มีการจับกุมตามกฎหมายถือว่าบุคคลนั้นได้สละสิทธิหลายประการในความเป็นปัจเจกชน กฎหมายในปัจจุบันและในทางปฏิบัติได้มีหลักประกันสิทธิพื้นฐานของบุคคลที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาไว้ตั้งแต่เริ่มต้นทั้งสิทธิโดยทั่วไปและสิทธิในทางอาญาหลายประการ ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่ว่าสถานการณ์ของสังคมจะมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรการคุ้มครองสิทธิของประชาชนจะต้องดำเนินการควบคู่กับมาตรการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคมผ่านการบัญญัติเป็นกฎหมายที่ชัดเจน

References

กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ. แหล่งที่มา: http://humanrights.mfa.go.th

/th/humanrights/obligation/international-human-rights-mechanism/ [13 พฤษภาคม 2564]

เกียรติจร วัจนะสวัสดิ์. หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: จิรรัชการพิมพ์.

คณิต ณ นคร. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

ชาติ ชัยเดชสุริยะ. มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา.กรุงเทพมหานคร: เดือนตุลา.

บรรเจิด สิงคะเนติ และสมศักดิ์ นวตระกูลพิสุทธิ์ .(2542) .หลักความได้สัดส่วนตามหลักกฎหมายเยอรมันและฝรั่งเศส.วารสารศาลรัฐธรรมนูญ, 1(2), 18-27.

ปกป้อง ศรีสนิท. สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. แหล่งที่มา https://www.amnesty.or.th/our-work/hre/udhr/ 13 พฤษภาคม 2564.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.(2560).ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก (6 เมษายน 2560).

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 .กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

วีระ โลจายะ. (2525). กฎหมายสิทธิมนุษยชน .กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุริยา ปานแป้น และอนุวัฒน์ บุญนันท์.(2553). คู่มือสอบกฎหมายรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

หยุด แสงอุทัย. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป.กรุงเทพมหานคร : ประกายพรึก.

อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. สิทธิมนุษยชน.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-20