แนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในเขตพื้นที่ทุ่นระเบิดชายแดน : กรณีศึกษา จังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด
คำสำคัญ:
พื้นที่ทุ่นระเบิดชายแดน, แนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม, การบริหารจัดการทุ่นระเบิดบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์เรื่องแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในเขตพื้นที่ทุ่นระเบิดชายแดน : กรณีศึกษา จังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการทุ่นระเบิดในเขตพื้นที่ทุ่นระเบิดชายแดน 3 จังหวัดชายแดนภาคตะวันออก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
วิธีวิทยาการวิจัยแบบการสร้างทฤษฎีติดพื้นที่ วิธีการดำเนินการวิจัยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสัมภาษณ์ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า โดยเลือกกรณีศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ตำบลท่าข้าม อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ตำบลแหลมกลัด อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด และตำบลเทพนิมิต อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการทุ่นระเบิดในจังหวัดสระแก้วเป็นหน้าที่ของหน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 1 การบริหารจัดการทุ่นระเบิดในจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด เป็นหน้าที่ของหน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 2/หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมกองทัพเรือ ร่วมกับองค์กรที่ไม่ใช่องค์กรของรัฐ (NGOs) โดยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาโครงการด้านเทคนิค การวิจัยพัฒนาและการสนับสนุนงบประมาณ และยังร่วมกับภาคีต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ทุ่นระเบิด ซึ่งมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทุ่นระเบิด โดยมีกระบวนการบริหารจัดการทุ่นระเบิด ดังนี้ 1) การฝึกอบรมกำลังพลก่อนการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างทักษะในเรื่ององค์ความรู้ด้านทุ่นระเบิด เทคนิค และวิธีการปฏิบัติงาน 2) การลงพื้นที่ปฏิบัติการ เพื่อตรวจค้นและทำลายทุ่นระเบิด 3) การรายงานผลการปฏิบัติการ เพื่อรับรองการเป็นพื้นที่ปลอดภัยจากทุ่นระเบิด เมื่อพิจารณาจากกระบวนการทำงานบริหารจัดการทุ่นระเบิดโดยภาครัฐที่ได้ร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ (NGOs) ภายใต้อนุสัญญาออตโตวานั้น พื้นที่ปลอดภัยจากทุ่นระเบิดได้ถูกพัฒนาไปเป็นพื้นที่สร้างโอกาสทางการค้าชายแดน ให้ภาคธุรกิจและกลุ่มผู้ค้าชายแดนเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ซึ่งในกระบวนการการทำงานต้องมีภาคีเครือข่ายที่มากกว่าเดิมเข้ามาร่วมในขั้นของการวางแผนและการปฏิบัติการ เช่น ชุมชน ท้องถิ่น ผู้ประสบปัญหาที่ได้รับผลกระทบ เป็นต้น
References
ข่าวช่อง 3. (2561). ชาวบ้านเคราะห์ร้ายเหยียบกับระเบิด. ออนไลน์. แหล่งที่มา:https://www.news.ch3
thailand.com : 11 ก.ค. 63
พรทิวา อาชีวะ จำลอง แสนเสนาะ กนกวรรณ อยู่ไสว ขวัญศิริ เจริญทรัพย์. (2561). ศักยภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการพื้นที่ทุ่นระเบิดในเขตชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดจันทบุรีและตราด. โครงการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
โพสต์ทูเดย์. (2563). ชาวบ้านพบทุ่นระเบิด. ออนไลน์. แหล่งที่มา :
https://www.posttoday.com/social/local/94459 : 13 พ.ค. 63
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม และปรีดา วานิชภูมิ. (2556). การจัดการภาคีสาธารณะแนวใหม่: ความหมาย และนัยสำคัญ. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา. 1 (1) กรกฎาคม-ธันวาคม. 183-214.
สยามรัฐ. (2563). ไฟไหม้ป่าเขาบรรทัด. ออนไลน์. แหล่งที่มา : https://siamrath.co.th/n/135038
ก.ค. 63
ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ. (2563). การปฐมนิเทศกำลังพลปฏิบัติงานทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563.
ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ. (2563). ระเบียบปฏิบัติประจำภาคสนาม. อัดสำเนาของศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.