รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานสูงวัยนอกระบบ ในเขตเทศบาลเมืองคลองหลวงอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • สโรชินี ศิริวัฒนา -

คำสำคัญ:

ปัจจัยเชิงสาเหตุ, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, กลยุทธ์, แรงงานสูงวัยนอกระบบ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานสูงวัยนอกระบบในเขตเทศบาลเมืองคลองหลวงอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานสูงวัยนอกระบบในเขตเทศบาลเมืองคลองหลวงอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 475 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่วิเคราะห์ข้อมูลคือ เทคนิคการวิเคราะห์เส้นทาง

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์มีอิทธิพลโดยตรงต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานสูงวัยนอกระบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.34 ปัจจัยด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์มีอิทธิพลโดยตรงต่อปัจจัยการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.79 ปัจจัยด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์มีอิทธิพลโดยตรงต่อปัจจัยความสำเร็จของโครงการ ต่าง ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.850 ปัจจัยปัจจัยด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติมีอิทธิพลโดยตรงต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานสูงวัยนอกระบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.32 ปัจจัยด้านความสำเร็จของโครงการต่าง ๆ มีอิทธิพลโดยตรงการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานสูงวัยนอกระบบอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.01 ปัจจัยด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ มีอิทธิพลโดยอ้อมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานสูงวัยนอกระบบ โดยส่งผ่านปัจจัยการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.450

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2565). การดำเนินงานด้านผู้สูงอายุของประเทศไทย ตามแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566-2580). แหล่งที่มา http://www.dop.go.th/upload/laws/law_th_20161107085040_1.pdf. สืบค้นเมื่อ 3 เม.ย. 2565.

เกริกยศ ชลายนเดชะ. (2556). การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ : การวางแผนกลยุทธ์และการพัฒนาคุณภาพบริการของโรงพยาบาล. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2562). การจัดการเชิงกลยุทธ์. (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ณัฏฐ์ฐิตตา เทวาเลิศสกุล. (2559). แนวทางการพัฒนาผู้สูงอายุจากภาระให้เป็นพลัง กรณีศึกษาเทศบาลนครรังสิต. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

มณฑลี กปิลกาญจน์ และวันใหม่ นนท์ฐิติพงศ์. (2565). แรงงานนอกระบบ: ผลกระทบและความท้าทาย ในยุค COVID-19. แหล่งที่มา https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/

article. สืบค้นเมื่อ 9 เม.ย. 2565.

ศุภชัย ศรีสุชาติ, แก้วขวัญ ตั้งติพงศ์กูล และอรอนงค์ทวีปรีดา. (2562). เอกสารนำเสนอโครงการวิจัย ถอดบทเรียนสถานประกอบการที่มีการจ้างแรงงานสูงวัย. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565). การเผชิญหน้า “สังคมผู้สูงอายุ” โจทย์ท้าทายภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น. แหล่งที่มา: https://resourcecenter.thaihealth.or.th/article/ การเผชิญหน้า-“สังคมอายุ”-โจทย์ท้าทายภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2565.

สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่. (2561). แรงงานนอกระบบ. แหล่งที่มา http://chiangmai.labour.go.th/index.php/2018-10-31-08-11- 28. สืบค้นเมื่อ 2 เม.ย. 2565.

Cronbach, L.J. (1990). Coefficient Alpha and The Internal Structure of Tests. Psychometrika.

Francis J.& Aguilar. (1967). เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ธุรกิจ แบบ PEST Analysis. แหล่งที่มา http://www.eiamsri.wordpress.com/2011/06/03/pest-analysis/ สืบค้นเมื่อ 5 พ.ค. 2565.

Hasnu, S. & Amjad, S. (2008). ICT, small enterprise strategic management and performance: A theoretical model with some UK evidence. Retrieved from http://www.bradford.ac.uk/

acad/bcid/research/papers/Research. [cited 2021 Jul 31].

Higgins, James M. & Vincze, Julian W. (1993). Strategic Management. (Fifth Edition). USA: The Dryden Press.

Kish, L. (1965). Survey Sampling. New York: John Wiley and Sons Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-12