การเสริมสร้างค่านิยมของประชาชนเพื่อต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ทางการเมืองในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การเสริมสร้างค่านิยม, การต่อต้านการทุจริต, ประพฤติมิชอบทางการเมืองบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การเสริมสร้างค่านิยมของประชาชนเพื่อต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมืองในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเสริมสร้างค่านิยม 2) ศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการเสริมสร้างค่านิยม และ 3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการเสริมสร้างค่านิยมของประชาชนเพื่อต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง
โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากประชาชนเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 395 คน ด้วยการแจกแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 รูปหรือคน วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
- ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการเสริมสร้างค่านิยมต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมืองในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านดังนี้ ด้านการรับรู้การทุจริต ด้านการประชาสัมพันธ์ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการปลูกฝังและสร้างจิตสำนึก และด้านการด้านการป้องกันและเฝ้าระวัง ด้านการสร้างเครือข่าย อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ
- ประชาชนที่มีอายุ และการศึกษา ต่างกัน การเสริมสร้างค่านิยมการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มี เพศ อาชีพ และรายได้ต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน3. ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเสริมสร้างค่านิยมของประชาชนเพื่อต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง ปัญหามีดังนี้คือ หน่วยงานรัฐขาดการสร้างค่านิยม ขาดกิจกรรมต่อต้านการทุจริตให้ประชาชนเกิดจิตสำนึกได้ ทำให้ประชาชนยุคใหม่ยอมรับการทุจริตถ้าไม่ทำให้เกิดความเดือดร้อน โดยเสนอแนะให้ปลุกจิตสำนึกการเป็นพลเมืองที่ดี มีวัฒนธรรมสุจริต และไม่ทนต่อการทุจริต
References
เกรียงไกร พัฒนะโชติ. (2563). “วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ข้อมูลผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 2562. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล:https://www.ect.go.th/ http://www.bangkok.go.th/samphanthawong [15 ตุลาคม 2563].
ณชรต อิ่มณะรัญ. (2557). “สัญลักษณ์เพื่อการรณรงค์ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นทางสื่อวีดีทัศน์ ออนไลน์”. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.
ณัฐกาญจน์ เข็มนาค. (2563). “พฤติกรรมทางการเมืองในการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2562 ในตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา. (2557). “การสร้างจิตสำนึกของความเป็นไทย ค่านิยม เพื่อการต่อต้านป้องกัน การทุจริต คอร์รัปชั่น”, วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6(11): 248.
ปิ่นอนงค์ ทองบ่อ. (2563). “การเสริมสร้างความเข้าใจการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลพระอินทราชา อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พรเทพ จันทรนิภ. (2559). “การพัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐเพื่อการ บริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีในสังคมไทย”. วารสารเกษมบัณฑิต 16(1): 88-89.
พระจักรพงษ์ อนุตฺตโร (วงษ์โพธิ์). (2563). “ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อจริยธรรมของผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล และคณะ. (2561). “แนวทางสร้างค่านิยมต่อต้านการคอร์รัปชันทุกรูปแบบให้กับกลุ่มเยาวชน ในจังหวัดนครราชสีมา”. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 2(3): 15-16.
รัตนา สารักษ์. (2563). “การส่งเสริมวัฒนธรรมการเมืองของประชาชนใน อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.