ตัวชี้วัดความดีชุมชนหนองสาหร่าย: รูปธรรมทุนทางสังคมในการพัฒนาสู่ความสุขของชุมชน

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐาพงศ์ อภิโชติเดชาสกุล -
  • วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์

คำสำคัญ:

ทุนทางสังคม, ตัวชี้วัดความดี, ความสุขของชุมชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์เรื่อง ทุนทางสังคมไทยกับการพัฒนาสู่ความสุขของชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาททุนทางสังคมไทยกับการพัฒนาชุมชนบนฐานคิดชุมชนนิยม ตลอดจนสังเคราะห์รูปแบบและแนวทางการใช้ทุนทางสังคมในการพัฒนาชุมชนสู่ความสุข โดยมีระเบียบวิธีการวิจัย คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัย พบว่า (1) พัฒนาการทุนทางสังคมของชุมชน มีรากฐานที่มีความรักความภาคภูมิมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ผ่านเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และมีผู้นำที่ได้รับการยอมรับจากชุมชน ปฏิบัติตนเป็นที่น่าเชื่อถือ มีการสร้างและพัฒนาทุนทางสังคมอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมกับยุคสมัย (2) การดำเนินงานของธนาคารความดีชุมชนตำบลหนองสาหร่าย 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) การดำเนินกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งภายในองค์กร 2) การดำเนินกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างความดีภายในชุมชน และ 3) การดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาตัวชี้วัดความดี ก่อให้เกิดสะสม การใช้ประโยชน์ และการต่อยอดทุนทางสังคมอย่างเป็นรูปธรรม (3) การพัฒนาตัวชี้วัดความสุขของชุมชนหนองสาหร่าย ถูกพัฒนาขึ้นจากตัวชี้วัดความดี แล้วนำไปสู่การจัดระบบความสุข 6 ด้าน 20 ตัวชี้วัด และ (4) รูปธรรมของการใช้ทุนทางสังคมในพัฒนาชุมชนไปสู่ความสุข ระบบการสร้างและพัฒนาความดีของธนาคารชุมชนตำบลหนองสาหร่าย ทำให้เห็นถึงการนำความดี (ซึ่งเป็นเรื่องนามธรรม) มาใช้ในการพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อสร้างความสุขผ่านการให้คะแนนความดีจนกลายเป็นฐานสำคัญในการเพิ่มทุนทางสังคมแล้วนำกลับไปใช้ใหม่ในระบบตามรูปแบบของธนาคารความดีแบบหมุนเวียน ซึ่งควรมีการศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัดความดีกับระดับความสุขของชุมชน เพื่อให้เห็นถึงความเชื่อมโยงทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพ อีกทั้งควรมีการสังเคราะห์ระดับความสุขเพื่อให้สะท้อนถึงความสุขของชุมชน

References

ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และพัชรินทร์ สิรสุนทร. (2547). ทุนสังคม และทุนวัฒนธรรมในระบบเศรษฐกิจ และการจัดการยุคใหม่, รวมบทความจากการประชุมวิชาการประจำปี 2547 มหาวิทยาลัยนเรศวร. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด

ปิยรัตน์ เส็นยีหีม. (2553). ธนาคารความดีกับการพัฒนาชุมชน กรณีศึกษา หมู่ที่ 4 บ้านหนองขุย ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี, วิทยานิพนธ์พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น). (2553). ตัวชี้วัดความสุข: กลยุทธ์การสร้างและการใช้เพื่อชุมชนเป็นสุข. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข

พัณณ์ชิตา โยคะนิตย์. (2553). ถอดบทเรียนการเรียนรู้สุขภาพชุมชน ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภัทราวดี เจตนะวิบูลย์. (2552). การศึกษาความอยู่ดีมีสุขของชุมชนหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี, สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์. (2548). ทุนทางสังคม. กรุงเทพมหานคร: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.)

วสันต์ ลิ่มรัตนภัทรกุล และธัชชนันท์ อิศรเดช. (2563). ชุมชนท้องถิ่นกับการจัดการปัญหาความเหลื่อมล้ำเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2557). สุขภาพคนไทย 2557: ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง...สู่การปฏิรูปประเทศจากฐานราก. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

Michael Woolcock, and Deepa Narayan. (2000). “Social capital: Implications for development theory, research, and policy.” In The World Bank Research Observer 15

Pierre Bourdieu, trans. R. Nice. (1983). “The forms of capital” in Handbook of theory and research for the sociology of education. ed. J.C. Richardson. New York: Greenwood Press

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-11