ปัญหาและความต้องการของกลุ่ม OTOP ในจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • วิชุลดา มาตันบุญ Social Research Institute, Chiang Mai University

คำสำคัญ:

OTOP, OTOP ระดับสามดาว, หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์, ปัญหาและความต้องการ

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อนำเสนอสถานการณ์การดำเนินการของกลุ่ม OTOP ระดับสามดาวในจังหวัดเชียงราย และ 2. เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของกลุ่มระดับสามดาวในจังหวัดเชียงราย โดยใช้วิธีการเก็บมูลโดยการสำรวจเอกสาร การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม กลุ่มเป้าหมายคือผู้ประกอบการกลุ่ม OTOP ระดับสามดาวในจังหวัดเชียงราย จำนวน 20 คน จำนวน 13 กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่าในปีพ.ศ. 2562 มีกลุ่ม OTOP ที่ได้รับการคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์ของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จำนวน 378 กลุ่ม ในจำนวนนี้ มีกลุ่ม OTOP ระดับสามดาวจำนวน 51 กลุ่ม ประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์ 4 ประเภท คือ 1) ประเภทอาหาร     2) ประเภทเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย 3) ประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก และ 4) ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ปัญหาของกลุ่ม OTOP ระดับสามดาวมี 4 ด้าน ได้แก่ 1) การตลาดและประชาสัมพันธ์     2) การบริหารจัดการกลุ่ม 3) วัตถุดิบและอุปกรณ์ และ 4) การผลิตผลิตภัณฑ์ ส่วนความต้องการของกลุ่ม OTOP ระดับสามดาวมีทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2) การตลาดและประชาสัมพันธ์ 3) การบริหารจัดการกลุ่ม 4) การเสริมสร้างกลุ่มให้มีความเข้มแข็ง และ 5) ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขจากหน่วยงานภาครัฐ

References

กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2563). ระบบศูนย์ข้อมูลกลางเพื่อการบริหารจัดเก็บและใช้ประโยชน์. สืบค้น 20 ตุลาคม 2563, จากhttp://logi.cdd.go.th/cddcenter/cdd_report/otop_r04.php.

จงกลบดินทร์ แสงอาสภวิริยะ. (2551). การดำเนินงานทางธุรกิจของกลุ่ม OTOP ในเขตอำเภอสันกำแพง กรณีศึกษา กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าและประเภทเครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่ง. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่.

ธันยมัย เจียรกุล. (2557). ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC. วารสารนักบริหาร, 1(34), 177-191.

ปานศิริ พูนพลและทิพวรรณ พรมลาย. (2560). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการตลาดของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP (ระดับ 1-5 ดาว) ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 7(พิเศษ), 23-33.

พิมพ์พิสุทธิ์ อ้วนล้ำ และคณะ. (2560). การพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานกลุ่มหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์(โอทอป) ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8(2), 207-238.

มาโนชย์ นวลสระ และคณะ. (2564). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานระดับสากล จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 15(1), 119-134.

วิชุลดา มาตันบุญ. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ให้ได้มาตรฐานบนฐานอัตลักษณ์ล้านนาเพื่อรองรับการท่องเที่ยวชุมชน. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บริษัท นันทพันธ์พริ้นติ้ง จำกัด. เชียงใหม่.

สำนักงานส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. (2562). ฐานข้อมูล OTOP. กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย สืบค้น 21 ธันวาคม 2563, จาก https://cep.cdd.go.th/services/

database-otop.

สุดถนอม ตันเจริญ. (2561). แนวทางการพัฒนาคุณภาพสินค้า OTOP ของวิสาหกิจชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง. 7(2), 155-166.

อัญชัน จงเจริญ. (2554). พัฒนารูปแบบและมาตรฐานการจัดการธุรกิจร้านจำหน่ายสินค้า OTOP และของฝากชุมชน จังหวัดระนอง. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

อัปสร อีซอ และคณะ. (2562). การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์โอทอปจังหวัดยะลาตามโครงการพระบรมราโชบายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31