การกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • พระณัฐพงษ์ ณฏฺฐวํโส (สุดใจ)
  • เติมศักดิ์ ทองอินทร์
  • ยุทธนา ปราณีต

คำสำคัญ:

การกล่อมเกลาทางการเมือง, ระบอบประชาธิปไตย, เยาวชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของเยาวชนในการกล่อมเกลาทางการเมือง 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการกล่อมเกลาทางการเมืองตามปัจจัยส่วนบุคคลและ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการกล่อมเกลาทางการเมืองของเยาวชน ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากเยาวชนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 363 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า     

  1. การกล่อมเกลาทางการเมือง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.58) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน ดังนี้ ด้านสถาบันศาสนา (=3.92) อยู่ในระดับมาก ด้านสถาบันการศึกษา (=3.58) ด้านชุมชนและกลุ่มเพื่อน
    (=3.55) และด้านสถาบันครอบครัว (=3.42) อยู่ในระดับปานกลาง และสถาบันทางการเมือง (=3.12)
    อยู่ในระดับน้อย ตามลำดับ
  2. ผลการเปรียบเทียบพบว่า เยาวชนที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการกล่อมเกลาทางการเมือง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนเยาวชนที่มีเพศ การศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการกล่อมเกลาทางการเมืองไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐานการวิจัย

3. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการกล่อมเกลาทางการเมือง พบว่า ด้านสถาบันครอบครัว ผู้ปกครองมีส่วนปลูกฝังความคิด ควรการเปิดโอกาสในการที่จะพูดคุยเกี่ยวกับประชาธิปไตย
ด้านสถาบันการศึกษา นักเรียนมักไม่ค่อยมีโอกาสในการร่วมกิจกรรมทางการเมือง ควรการเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็น ด้านชุมชนและกลุ่มเพื่อน เยาวชนยังโดนปิดกั้นในทางการเมือง ควรให้เยาวชนได้แสดงความคิดเห็น ด้านสถาบันศาสนา ยังไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปลูกฝังเรื่องประชาธิปไตยมากนัก ควรการปลูกฝังสิ่งดีๆในทางการเมืองควบคู่คุณธรรม ด้านสถาบันทางการเมือง การมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเมืองและนักการเมือง นักการเมืองควรเป็นแบบอย่างให้เยาวชนในเรื่องของความซื่อสัตย์ ทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน

References

เกรียงไกร พัฒนะโชติ (2563).“วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ฉลองโชค ประดิษฐ์สาร(2559). “นโยบาย หลักสูตรการศึกษา และการอบรมกล่อมเกลาทางการเมือง : ศึกษากรณีระดับมัธยมศึกษา”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เปรมศักดิ์ แก้วมรกฎ(2560). “วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่น ในสังคมพหุวัฒนธรรม : กรณีศึกษา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา”.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา. คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พัฒนภูมิ ผ่องยุบล(2563). “การส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัตนา สารักษ์(2563). “การส่งเสริมวัฒนธรรมการเมืองของประชาชนใน อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัฒนา เซ่งไพเราะ(2555). “ความตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในสถาบันการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครกับการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๔”. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง : มหาวิทยาลัยเกริก.

สายทิพย์ สุคติพันธ์(2554). “การเรียนรู้ทางการเมืองของเยาวชนไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร”.วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-24