การจัดสวัสดิการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานลาว ในเขตนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พระบีลีน่า พิลาวงส์

คำสำคัญ:

สวัสดิการ, การพัฒนา, คุณภาพชีวิต, แรงงานลาว, นิคมอุตสาหกรรม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดสวัสดิการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานลาวในเขตนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”  มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของคุณภาพชีวิตของแรงงานลาวในเขตนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคของแรงงานลาวในเขตนิคมอุตสาหกรรมโรจนะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3) เพื่อศึกษาการจัดสวัสดิการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานลาวในเขตนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed-Methods Research) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย โดยใช้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง     ๓๐๐ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ (Percentage) หาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation)  การทดสอบค่าที-เทส (t-test) การวิเคาะห์ความแปรปวนทางเดียว(One Way Analysis of Variance)  และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Different : LSD.)  และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ(Key Informants) จำนวน 20 คน

  1. 1. สภาพทั่วไปของคุณภาพชีวิตของแรงงานลาวในเขตนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า แรงงานลาวที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง30-39 ปี มีการศึกษาระดับมัธยมตอนต้น/ตอนปลาย มีรายได้ 15,000 บาทขึ้นไป อายุการทำงาน 5 ปีขึ้นไป มีการอบรมกฎหมายแรงงาน มีการฝึกทักษะการทำงานจำนวน เป็นสมาชิกองค์กรแรงงาน
  2. 2. ปัญหาอุปสรรคของแรงงานลาวในเขตนิคมอุตสาหกรรมโรจนะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีด้วยกัน 4 ด้าน 1) ด้านรายได้ 2) ด้านสุขภาพ 3) ด้านสภาพแวดล้อม 4) ด้านประกันสังคม ในกระบวนการทำงานควรจะมีจัดสวัสดิการแรงงานลาวให้เหมือนกันกับแรงงานไทย เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำกัน
  3. 3. การจัดสวัสดิการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานลาวในเขตนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชึ่งเป็นการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า แรงงานลาวที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน อายุการทำงาน ต่างกัน มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานลาว แตกต่างกัน โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

คำสำคัญ: สวัสดิการ, การพัฒนา, คุณภาพชีวิต, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, แรงงานลาว, นิคมอุตสาหกรรม

Abstract

Thesis on “Welfare arrangements for improving the quality of life of Lao workers in the Rojana Industrial Estate Ayutthaya Province” has a purpose 1) To study the general condition of the quality of life of Lao workers in the Rojana Industrial Estate. Ayutthaya Province 2) To study the problems and obstacles of Lao workers in the Rojana Industrial Park, Ayutthaya Province. 3) To study welfare arrangements for improving the quality of life of Lao workers in the Rojana Industrial Park, Ayutthaya Province. This research study, Conducted in accordance with research methodology (Mixed-Methods Research) Which is a quantitative research (Quantitative Research) Using questionnaires (Questionnaire) It is a tool for collecting data for research purposes. By using the sample number of 300 people Data analysis by percentage, Mean, Standard Deviation, t-test, One Way Analysis of Variance, Least Significant Different : LSD.), and qualitative research by doing in-depth interviews with 20 key informants.

  1. General condition of quality of life of Lao workers in the Rojana Industrial Park. Ayutthaya Province, It was found that most of the Lao workers who answered the questionnaire were female. They are between 30-39 years old, have a lower school / high school education, earn 15,000 baht or more Working age 5 years or more having training on labor law There are a number of job skills training. Be a member of a labor organization Lao workers.
  2. Problems and obstacles for Lao workers in the Rojana Industrial park, Ayutthaya Province. There are 4 aspects: 1) income 2) health 3) environment 4) social security In the work process, there should be a Sawasdee for Lao workers to be the same as Thai workers. So as not to cause disparity.
  3. Welfare provision for improving the quality of life of Lao workers in the Rojana Industrial Park, Ayutthaya Province, This was a test of the research hypothesis. It was found that Lao workers with sex, age, education level Monthly income, working age, different effects on the quality of life development of Lao workers overall differently. With statistical significance at the level of 0.05, the hypothesis was accepted.

Keywords: welfare, development, quality of life, improving the quality of life, Lao workers, industrial estate

References

เกรียรติศักดิ์ พลมณี. (2548) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความจำเป็นในการจ้างงานแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายของผู้ประกอบกิจการที่จดทะเบียนนายจ้างในจังหวัดปทุมธานี วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2554). สถิติเบื้องต้นและการวิจัย, พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จอมขวัญ ขวัญยืน. (2549) การศึกษาการจัดสวัสดิการแรงงานต่างด้าว: กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2561, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/

สำนักงานจัดหางานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2561, จาก https://www.doe.go.th /prd/ayutthaya/news/param/site/153/cat/10/sub/0/pull/category/view/table-view

พัชรินทร์ ขันคำ (2553) ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์การจ้างงานแรงงานต่างด้าวของนายจ้าง ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ร.ต.อ.นถบาล จิตทยานันท์ (2545) ปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการในจังหวัดเชียงใหม่กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว การค้นคว้าแบบอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรุณรัตน์ หล่ำวิไลเกสร (2551) การศึกษาสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของแรงงานสตรีไทยในฮ่องกง: ศึกษากรณีผู้ช่วยแม่บ้านไทยในฮ่องกง ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31