เอกลักษณ์ลวดลายผ้าทออีสานบ้านวังผา ตำบลสันมะค่า อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ณรงค์ เจนใจ -
  • กรชนก สนิทวงค์

คำสำคัญ:

ผ้าไหมมัดหมี่, เอกลักษณ์, ชุมชนอีสาน, ลวดลายผ้าทอ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเอกลักษณ์จากลวดลายผ้าไหมที่ปรากฏบนพื้นผ้าไหมมัดหมี่ที่ยังมีการสืบทอดของชุมชนบ้านวังผาและบ้านวังศิลา ตำบลสันมะค่า อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่สมาชิกกลุ่มทอผ้าไหมจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสังเกต และการสนทนากลุ่ม  ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนบ้านวังผาและบ้านวังศิลาเป็นชุมชนอีสานที่มีการย้ายถิ่นฐานมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งสองชุมชนมีภูมิปัญญาด้านการทอผ้าไหมมัดหมี่ที่สืบทอดจากจากบรรพบุรุษ และเกิดการเรียนรู้การสืบทอดทางถูมิปัญญา จนเกิดเป็นองค์ความรู้ซึ่งถ่ายทอดออกมาเป็นเอกลักษณ์ลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ของชุมชน สามารถแบ่งเอกลักษณ์ลวดลายผ้าทอของชุมชนได้ 4 ด้าน ได้แก่ (1) เอกลักษณ์ลวดลายพื้นฐานและลายไทย (2) เอกลักษณ์ลวดลายธรรมชาติ และวิถีชีวิต (3) เอกลักษณ์ลวดลายประยุกต์ และ (4) เอกลักษณ์ลวดลายสัตว์สวยงาม และสัตว์มงคล

References

ประทับใจ สิกขา. (2552). ผ้าทอพื้นเมืองอีสานใต้. อุบลราชธานี: ศิริธรรม ออฟเซ็ท.

เมธ์วดี พยัฆประโคน. (2558). โครงการภูมิปัญญาการออกแบบลายผามัดหมี่โบราณ จังหวัดสุรินทร์.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. ทุนสนับสนุนงานวิจัยสำนักงานงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สมบัติ ประจญศานต์. (2564). การศึกษาการพัฒนานักออกแบบลายมัดหมี่ในชุมชน. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 9(1),

หทัยรัตน์ บุณยรัตพันธุ์ เงินทอง. (2558). ปัญหาของกลุ่มผลิตผ้าไหมมัดหมี่ในตำบลศรีบุญเรือง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริหารท้องถิ่น. 9(1), 100-117

อัจฉรา ภาณุรัตน์. (2548). วิธีการให้การศึกษาเพื่อสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมผ้าทอมืออีสานใต้.กรุงเทพมหานคร. กองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31