การบูรณาการหลักศีล ๕ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวชุมชนในจังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • พระครูธรรมธรไพบูลย์ พิศาลวชิโรภาส -บัณฑิตวิทยาลัย มจร

คำสำคัญ:

การบูรณาการ; ศีล ๕; พัฒนาคุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง การบูรณาการหลักศีล ๕ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวชุมชนในจังหวัดสมุทรสงคราม มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตตามหลักศีล ๕ ของชาวชุมชนในจังหวัดสมุทรสงคราม ๒) เพื่อศึกษาหลักศีล ๕ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และ ๓) เพื่อการบูรณาการหลักศีล ๕ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวชุมชนในจังหวัดสมุทรสงคราม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการพรรณนาวิเคราะห์  

ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินชีวิตตามหลักศีล ๕ ไปใช้ในวิถีชีวิตประจำวันของชาวชุมชนจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นการที่ทุกฝ่ายร่วมมือกันขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ กันมาอย่างต่อเนื่อง การปฏิบัติตามหลักศีล ๕ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้โดยการรักษาศีล ๕ และการบูรณาการหลักศีล ๕ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวชุมชนในจังหวัดสมุทรสงคราม โดยความร่วมมือกันระหว่างชุมชน วัด และราชการ (บวร) ที่ร่วมกันดำเนินกิจกรรมทางสังคมโดยใช้หลักศีล ๕ และหลักธรรมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยบูรณาการกับกิจกรรมของชุมชน ดังนี้ ๑) ด้านหลักประกันชีวิต ใช้หลักสารณียธรรมกับการส่งเสริมความสามัคคีและคุ้มครองสิทธิ ทำให้ลดปัญหาการมุ่งร้ายต่อชีวิต ๒) ด้านหลักประกันทรัพย์สิน ใช้หลักคิหิสุขกับการตั้งกองทุนการเงิน/สวัสดิการเพื่อช่วยเหลือประชาชน ทำให้ลดปัญหาการลักขโมยทรัพย์สินในชุมชน ๓) ด้านหลักประกันครอบครัว ใช้หลักฆราวาสธรรมกับการส่งเสริมครอบครัวสัมพันธ์ของหมู่บ้าน ทำให้ลดปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ ๔) ด้านหลักประกันสังคม ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมกับการส่งเสริมการรักษามารยาทการพูดในชุมชน ทำให้ลดปัญหาการหลอกลวงและความขัดแย้งกันในชุมชน และ ๕) ด้านหลักประกันสุขภาพ ใช้หลักวุฑฒิธรรมกับการส่งเสริมการลด ละ เลิก อบายมุข และยาเสพติด ทำให้ลดปัญหายาเสพติดในชุมชน ซึ่งทำให้ชาวชุมชนในจังหวัดสมุทรสงครามมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อยู่ร่วมกันด้วยความรักสามัคคีและสันติสุขได้อย่างยั่งยืน

         

คำสำคัญ;  การบูรณาการ;  ศีล ๕; พัฒนาคุณภาพชีวิต

References

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. แนวทางการดำเนินโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5: ชาวประชาเป็นสุข. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม, 2557.

พระพุทธโฆสาจารย์. วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ). พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้งจำกัด, 2546.

พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ. “หมู่บ้านรักษาศีล 5 : รูปแบบและกระบวนการเสริมสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของสังคมไทย”. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศฯ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (ฉบับพิเศษ) (เมษายน-มิถุนายน 2560).

พุทธทาสภิกขุ. ทาน ศีล ภาวนา. กรุงเทพมหานคร : สุขภาพใจ, 2539.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560.

สนิท ไชยวงศ์คต. ศีล 5 พาโลกสู่สันติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรมการพิมพ์, 2558.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 33. กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, 2561.

________. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 40. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ผลิธัมม์, 2561.

________. พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 52. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, 2562.

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโ). ปุริมัตถี โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอกพิมพ์ไท จำกัด, 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-04