ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจเครื่องประดับและอัญมณีของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ปัจจัยความสำเร็จ, อัญมณี, ผู้ประกอบการบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระเรื่อง ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจเครื่องประดับและอัญมณีของผู้ประกอบการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจเครื่องประดับและอัญมณีของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องประดับและอัญมณีที่มีร้านตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 298 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านส่วนประสมการตลาด ปัจจัยด้านการบริหารการเงิน ปัจจัยด้านการบริหารการผลิตของผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องประดับและอัญมณี ในเขตกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จขององค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
จันทนา ฝั้นพรม (2549). ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของร้านจำหน่ายเครื่องประดับอัญมณี ในศูนย์การค้า ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ . การคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จรินทร์ อาสาทรงธรรม. (2556). [ออนไลน์]. การจัดการท่องเที่ยวชุมชนตลาดน้ำอย่างยั่งยืน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2564], จากhttp://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/ jan_mar_11.
ชัยยศ สันติวงษ์. (2546). การตลาดสําหรับนักบริหาร. กรุงเทพฯ. เอเชียเพรส.
ณัฐพงศ์ แซ่อึ้ง. (2554). พฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทองรูปพรรณของลูกค้าในเขตอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธัมมะทินนา ศรีสุพรรณ, สุจินดา เจียมศรีพงษ์, และชาตรี ปรีดาอนันทสุข. (2557). องค์ประกอบของตัวแบบธุรกิจที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการดําเนินงานของธุรกิจซอฟต์แวร์ในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง,7(1), 65-75.
ธงชัย สันติวงษ์ และชัยยศ สันติวงษ์. (2541).การเงินธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
รัชฎาพร จันทะดวง. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับอัญมณีของผู้บริโภค กรณีศึกษา ร้านขวัญข้าวจิวเวลรี่ . วิทยานิพนธ์รบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเซาธอีสทบางกอก.
รุ่งนภา จันทราเทพ. (2550). ผลกระทบของประสิทธิภาพการบริหารการผลิตที่มีต่อศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศ. วิทยานิพนธ์ บธ.ม (การจัดการเชิงกลยุทธ์). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11, กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น.
ลำใย มากเจริญ และคณะ. (2560). ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนครปฐม. สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2563). [ออนไลน์]. สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 3/2563. [สืบค้นเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2564], จาก https://www.oie.go.th/assets/portals/
/fileups/2/files/Industry%20conditions/Q3-2563.pdf.
อัญรัตน์ พรประกฤต. (2563). [ออนไลน์]. นักปฎิวัติวงการเพชรในประเทศไทย. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564], จาก https://www.thaipost.net/main/detail/86738
Siriwan U. et al. (2019). The management of the small and medium enterprises to achievement competitive advantage in northern Thailand. Conference of the International Journal of Arts & Sciences, 6(1), 147-157.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.